- คำว่า "กว๋า ตัง" ในภาษาเมี่ยนมีความหมายว่าแขวนตะเกียง ซึ่งเป็นการทำบุญเพื่อให้เกิดความสว่างขึ้น และเมี่ยนเองก็จะถือว่าผู้ที่ผ่านพิธีนี้แล้ว จะมีตะเกียง 3 ดวง พิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเต๋า เป็นพิธีที่ทำเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ถือเป็นการสร้างบุญบารมีให้กับตนเอง ทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ และเป็นผู้สืบสกุล ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า
- พิธีกรรมนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีเพียงแต่คำบอกเล่าจากการสันนิษฐานของผู้อาวุโสว่า พิธีกว๋าตัง นี้มีมานานมากแล้ว คงจะเป็น "ฟ่ามชิงฮู่ง" เป็นผู้บัญญัติให้ชาวเมี่ยนทำพิธีนี้ เมื่อประมาณ 2361 ปีมาแล้ว เพราะ ฟ่ามชิงฮู่ง เป็นผู้สร้างโลกวิญญาณและโลกของคน ฟ่ามชิงฮู่ง จึงบอกให้ทำพิธีกว่าตัง เพื่อช่วยเหลือคนดีที่ตายไปให้ได้ขึ้นสวรรค์ หรือไปอยู่กับบรรพบุรุษของตนเอง จะได้ไม่ตกลงไปในนรกที่ยากลำบาก พิธีนี้เป็นพิธีบวชพิธีแรกซึ่งจะทำให้กับผู้ชาย เมี่ยน โดยไม่จำกัดอายุ ในประเพณีของเมี่ยน โดยเฉพาะผู้ชายถ้าจะเป็นคนที่สมบูรณ์จะต้องผ่านพิธีบวชก่อน
- พิธีกว๋าตัง หมายถึงพิธีแขวนตะเกียง 3 ดวง เป็นพิธีที่สำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นการสืบทอดตระกูล และเป็นการทำบุญให้บรรพบุรุษด้วย ในการประกอบพิธีกว๋าตังนี้ จะต้องนำภาพเทพพระเจ้าทั้งหมดมาแขวน เพื่อเป็นสักขีพยานว่าบุคคลเหล่านี้ว่าได้ทำบุญแล้ว และจะได้ขึ้นสวรรค์เมื่อเสียชีวิตไป จุดสำคัญของพิธีนี้คือ การถ่ายทอดอำนาจบุญบารมีของอาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งในขณะทำพิธีนี้จะมีฐานะเป็นอาจารย์ (ไซเตี๋ย) ของผู้เข้าร่วมพิธีอีกฐานะหนึ่ง และผู้ผ่านพิธีนี้จะต้องเรียกผู้ที่ถ่ายทอดบุญบารมีนี้ว่า อาจารย์ตลอดไป ผู้เป็นอาจารย์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมเสมอไป แต่ต้องผ่านการทำพิธีกว๋าตัง หรือพิธีบวชขั้นสูงสุด"โต่ว ไซ" ก่อน
- เมื่อผ่านพิธีนี้แล้ว จะทำให้เขาเป็นผู้ชายที่สมบูรณ์ เขาจะได้รับชื่อใหม่ ชื่อนี้จะปรากฏรวมอยู่รวมกับทำเนียบวิญาณของบรรพบุรุษของเขา ซึ่งเป็นการสืบต่อตระกุลมิให้หมดไป เมื่อเขาเสียชีวิตเขาสามารถไปอยู่กับบรรพบุรุษที่ (ย่าง เจียว ต่ง) และอาจจะหลงไปอยู่ในที่ต่ำซึ่งเป็นที่ที่ไม่ดีหรือนรกก็ได้พอเวลาลูกหลานทำบุญส่งไปให้ก็จะไม่ได้รับ เพราะไม่มีชื่อ นอกจากนี้ผู้ผ่านพิธี (กว๋า ตัง)ยังจะได้รับตำแหน่งศักดินาชั้นต่ำสุดของโลกวิญญาณ จะได้รับบริวารทหารองครักษ์ 36 องค์ และทำให้ภรรยามีเพิ่มเป็น 24 องค์ ดังนั้น ผู้ชายเมี่ยนทุกคนต้องทำพิธี (กว๋า ตัง) จะใช้เวลาในการทำพิธี 3 วันเป็นพิธีถวายตัวแก่เทพเจ้าเต๋า เพื่อวิญาณจะไปอยู่ร่วมกับบรรพชนและมีเทพ (ฮู่ง อิน) มาดูแลปกปักรักษาเมื่อสิ้นชีวิตลง และจะทำให้เขาเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวมีศักดิ์และสิทธิที่จะเข้าร่วมพิธีต่างๆของเผ่าได้ทุกพิธี ช่วงที่ทำพิธีนี้ผู้เข้าร่วมจะต้องกินเจและถือพรหมจรรย์ ตามประเพณีแล้วผู้ชายเมี่ยนทุกคนจะต้องเข้าพิธี (กว๋า ตัง) ซึ่งจะไม่จำกัดอายุ จะน้อยหรือมากก็ได้ และจะมีชีวิตหรือไม่มีก็ได้ การผ่านพิธี (กว๋า ตัง) ยังสามารถทำให้ประกอบพิธีกรรมหลายอย่างได้ด้วยตนเอง รวมทั้งการทำกิจกรรมงานอื่น ๆ ก็จะได้รับการเชื่อถือ
- สำหรับชายที่แต่งงานแล้วเวลาทำพิธีบวช ภรรยาจะเข้าร่วมพิธีด้วย โดยจะอยู่ด้านหลังของสามี และการทำพิธีสามารถทำได้พร้อม ๆ กันหลาย ๆ คนก็ได้ แต่คนที่ทำนั้นจะต้องเป็นญาติพี่น้องกัน หรือนับถือบรรพบุรุษเดียวกัน เมี่ยนเรียกว่า(จ่วง เมี้ยน) หลังจากผ่านพิธีนี้แล้ว ผู้ทำพิธีจะได้รับชื่อผู้ใหญ่ และชื่อที่ใช้เวลาทำพิธีด้วยเรียกว่า (ฝะ บั๋ว)
การบวชแบ่งออก 3 ระดับ คือ
- กว๋าฟามทอยตัง เป็นการบวชซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุด ใช้เวลาในการประกอบพิธี 3 วัน 3 คืนเท่านั้น
- กว๋าเชียดฟิงตัง เป็นการบวชที่ถือว่าอยู่ในระดับกลาง มีพิธี 7 วัน 7 คืน
- โต่วไซ หรือ กว๋าต้าล่อตัง ถือว่าเป็นการบวชที่ใหญ่ที่สุด ใช้เวลาในการประกอบพิธี 7 วัน 7 คืน
การบวชทั้ง 3 ระดับนี้ มีทั้งการบวชแบบเดี่ยวและแบบควบกัน
- การบวช กว๋าฟามทอยตัง เพียงอย่างเดียว
- การบวช กว๋าเชียดฟิงตัง หรือ กว๋าเชียดโต่ว ที่รวมกับการบวช กว๋าฟามทอยตัง
- การบวช กว๋าต้าล่อตัง ที่รวมกับการบวชกว๋าฟามทอยตัง
- ในการเข้าพิธีบวชนี้ในหมู่บ้านเครือญาติ จะมีการตรวจสอบหลักฐานของแต่ละคนจาก "นิ่นแซงเป้น" คือ บันทึกวันเดือนปีเกิดหรือสูติบัตร (เอ้โต้ว) คือ การปฏิบัติต่อกันมา และ "จาฟินตาน" คือ บันทึกรายชื่อของบรรพบุรุษที่แต่ละคนถือครองอยู่
- การเตรียมงาน
- เครื่องแต่งกาย ประจำเผ่าของผู้หญิง ซึ่งจะต้องเป็นเครื่องที่ตัดเย็บขึ้นใหม่ผ้า ดิบสีขาว(เจี๋ย ซิน เดีย) ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมประจำผู้เข้าพิธี 1 ผืนเก้าอี้ (กว๋าตัง ตน) ใช้สำหรับผู้เข้าพิธีนั่งตอนทำพิธีกว๋าตัง ซึ่งจะใช้ไม้ตัดมาใหม่ ทำเป็นรูปอักษรพิมพ์ใหญ่ตัว1แล้วแต่งด้วยกระดาษสีต่าง ๆ ที่ตัดเป็นลวยลายอย่างสวยงามเสา ที่วางตะเกียง (เจียบ จ่าง เดี้ยว) ทำจากต้นกล้วย โดยตัดลำของต้นกล้วยสูงประมาณ 140 เซนติเมตร แล้วหาลำกล้วยอีกต้นมาตัดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร 2 ท่อน ใช้ไม้เสียบให้ติดกับด้านข้างของต้นสูงทั้งสองข้างให้เป็นแขนออกมา มีลักษณะด้านบนที่วางตะเกียงต้องใช้มีดคว้านให้มีขนาดวางตะเกียงได้พอดี
- กระดาษ สำหรับประกอบพิธีกรรม จะมี 2 แบบ คือ เจ่ยก๋อง และ เจ่ยหมา เจ่ยก๋อง ทำจากกระดาษสา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 4 คูณ 9 นิ้ว แล้วใช้เหล็กที่เป็นแม่พิมพ์รูปเงินตอกลงบนกระดาษจนเป็นรอย เรียงเป็นแถว 5-6 แถว เจ่ยหมา จะใช้แม่พิมพ์ไม้ขนาด 2 คูณ 8 นิ้ว เรียกว่า หมากเพย ทาด้วยหมึกดำ ซึ่งเผามาจากฟางข้าวแล้วผสมน้ำ แล้วกดลงบนกระดาษสาที่ตัดมาห่อเกลือ สำหรับเชิญอาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมและพ่อครู ทำโดยตัดใบตองขนาดพอเหมาะเช็ดให้สะอาดใส่เกลือประมาณ 2 ช้อน ห่อเป็นรูปสี่เหลี่ยม คาดด้วยกระดาษสีขาวแล้วมัดซ้ำด้วยด้ายสีดำถุงข้าว (ซิ เจียน) สำหรับบูชาครู โดยใช้ผ้าดิบสีขาวตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมใส่ข้าวประมาณ 400 กรัม และใส่เหรียญเงินแท้แล้วผูกด้วยเชือก
- เรือ และหุ่นวิญญาณร้าย (ซู่ง เมี้ยน) เรือทำมาจากใบไม้ทีมีลักษณะรียาว ทำมาจากใบข้าวหรือข้าวโพดก็ได้ นำมาสานเป็นรูปเรือ ส่วนหุ่นวิญญาณร้าย ใช้ฟางข้าวมามัดเป็นรูปคนตะเกียง แต่เดิมจะใช้ถ้วยชามแบบใหญ่ ใส่ข้าวสานลงไปประมาณ 3/4 ของถ้วย ใส่ด้วยควั่นเป็นเกลียว ปักลงไปในข้าวสาร แล้วเทน้ำมันงาลงไป ในปัจจุบันใช้เทียนขาวปักลงในข้าวสารแทน
- อาหาร ใช้สำหรับเซ่นไหว้ และสำหรับเลี้ยงแขก ได้แก่ หมู ไก่ ข้าวสวย เหล้า ชา ขนมเมี่ยน (ยั้วเจ๊ยะ) เป็นขนมที่ทำจากข้าวเหนียวผสมงาดำ ห่อด้วยใบตองแล้วนำไปนึ่ง อุปกรณ์ (ซิบ เมี้ยน เมี่ยน) สำหรับอุปกรณ์ซิบเมี้ยนเมี่ยนส่วนใหญ่เป็นของที่มีอยู่แล้ว เพียงแต่รวบรวมเตรียมพร้อมใช้ได้เลย ดังนี้
- ภาพสามดาว (ต้ม ต๋อง เมี้ยน) ถือเสมือนเป็นเสื้อของเทพ เวลาอัญเชิญมาในพิธีก็จะมาสถิตในภาพนี้เลย
- จ๋าว มีลักษณะเป็นไม้ 2 อัน ประกอบกัน ใช้สำหรับเสี่ยงทาย เพื่อที่จะทราบว่าเทพ หรือ เมี้ยน ยอมรับหรือพอใจในเครื่องเซ่นไหว้หรือไม่
- มีดหมอผี (กิ๋ม) มีลักษณะเป็นมีดสั้น ที่ปลายด้ามมีดจะมีเหรียญร้อยเป็นพวงติดอยู่ ใช้สำหรับขับไล่สิ่งชั่วร้าย และนำมาแต่สิ่งที่ดี
- ไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ (ชิ่ง ก๋วย) ทำมาจากไม้ ลักษณะเรียวยาว ปลายแหลมมีโลหะติดอยู่
- เขาควาย (จอง) ใช้สำหรับเป๋าเชิญเทพแห่งดวงอาทิตย์ (หยุ่น ต๋าย ฮู่ง)
- หนังสือทำพิธี ซึ่งต้องใช้หลายเล่ม เช่น คอยตาลโซ หนังสือที่บันทึกคำสวดสำหรับ เซ่นไหว้ และ จ่าฟินตาน หนังสือบันทึกชื่อบรรพบุรุษที่จะเชิญมาร่วมพิธี
- ตราประทับ ทำจากไม้แกะสลักตัวอักษรจีน และกระดาษ, หมึกดำ, พู่กันจีน ใช้เขียนสารแจ้งเทพแห่งดวงอาทิตย์
- กระถางธูป ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่
- หงะเก๊น เป็นไม้ไผ่ที่ผ่าเป็นแผ่นบางขนาด เป็นไม้ไผ่ที่ผ่าเป็นแผ่น
- เสื่อและเชือกปอ
- กระดิ่ง เป็นเครื่องตนตรีที่ใช้ประกอบ
- เครื่องดนตรี ที่ใช้ในงานมีเพียง 3 ชนิดเท่านั้น คือ กลอง (โหญ) ฆ้อง (ล่อ) และฉาบ (ฉาว เจ้ย)
- ชุด สำหรับทำพิธีของอาจารย์ประกอบพิธีกรรม ประกอบด้วย หมวก ซึ่งเป็นหมวกสีดำทรงกลมตั้งขึ้น ด้านบนเย็บติดกัน ประดับด้วยพรมไหมสีแดงด้านบนจะแคบกว่าด้านล่าง เสื้อ (ลุ่ย กว๋า) เป็นเสื้อไม่มีแขน ผ่าอก ไม่มีปกคอเสื้อ ตัวเสื้อยาวต่ำกว่าสะโพก ใช้สวมทับชั้นใน มีลวดลายสีสันฉูดฉาด (ตุ้ง จุ่น) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู คลายกับกระโปรงสตรีที่ไม่เย็บติดกันยาวจากเอวถึข้อเท้า ใช้สวมทับกางเกง (ผา ฮุ้ง) เป็นผ้าสีแดง ใช้คาดเอวทับเสื้อ (ผา จุ่น) เป็นผ้าสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านหน้าผ้าใช้ผ้าทอด้วยมือสีดำปักลาย และตรงปลายของส่วนที่มีพู่ไหมพรมสีแดงประดับพองาม (เส้นต้อต๋าย) ใช้มัดหมวกซิบเมี้ยนเมี่ยน อาจารย์ประกอบพิธีกรรมจะแต่งตัวอย่างไร ขึ้นอยู่กับพิธีกรรมแต่ละขั้นตอน