งานเขียนชิ้นนี้จะมีคุณูปการต่อการสร้างความรู้เพื่อนำไปสู่การผลักดันการเคลื่อนไหวทางการเมืองเรื่องอำนาจโดยชี้ให้เห็นว่าประสบการณ์ชีวิตของผู้หญิงชาติพันธุ์ภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐกิจการเมืองสังคมวัฒนธรรมล้วนมีที่มาที่ไปมีตำแหน่งแห่งที่เป็นของตนเองกรณีศึกษาในงานเขียนนี้เปรียบได้กับองค์ประธาน(subject)ของการต่อสู้ต่อรองกับอุดมการณ์อำนาจต่างๆโดยเฉพาะอุดมการณ์อำนาจแบบปิตาไตยที่หยั่งรากลึกในระบบโครงสร้างทางสังคมไทยผู้เขียนพยายามถ่ายทอดให้ผู้อ่านเห็นปฏิบัติการที่เกิดขึ้นในแต่ละสถานการณ์ชีวิตของกรณีศึกษาว่ากรณีศึกษาเป็น
บุคคล(agency)ที่มีความรู้สึกนึกคิใช้สติปัญญาความรู้ในการเผชิญกับปัญหาและจัดการเรื่องความสัมพันธ์กับผู้ที่อยู่ในระนาบอำนาจต่างกันได้อย่างไรให้ตนเองเข้าถึงพื้นที่การเมืองท้องถิ่นเพื่อเรียกร้องถึงความยุติธรรมในการเข้าถึงอำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเป็นรูปธรรม
อัตชีวประวัติของเฟย ศรีสมบัติ (กรณีศึกษา)
เป็นการสื่อสารเรื่องเล่าจากประสบการณ์ของผู้หญิงเมี่ยนที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง
ผู้เขียนจะเริ่มจากการเสนอภูมิหลังชีวิตที่ต้องดิ้นรนเพื่อปากท้อง
ประสบการณ์ความไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่เฟยถูกคนในครอบครัวและคนในชุมชนกระทำการไม่ยอมแพ้และลุกขึ้นต่อสู้การดิ้นรนให้ได้มาซึ่งตำแหน่งทางการเมือง(อย่างเป็นทางการ)ของเฟยเพื่อนำให้ผู้อ่านเห็นว่าโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมกระทำกับผู้หญิงอย่างไรผู้หญิงหนึ่งคนใช้เวลาบ่มเพาะตัวตนและสะสม“ต้นทุน”มาอย่างไรจึงสามารถเปลี่ยนสถานะตนเองจากผู้ถูกกระทำมาเป็นผู้กระทำการสามารถเผชิญหน้าและจัดการกับปัญหาความไม่ยุติธรรมในชีวิตที่มาแฝงมากับอำนาจรัฐ
ชุมชน และจารีตประเพณีดั้งเดิมได้
กระทั่งได้ก้าวเข้าสู่พื้นที่ทางการเมืองท้องถิ่น ซึ่งเฟย กล่าวว่าเป็นเครื่องเบิกทางที่จะนำผู้หญิงเมี่ยนไปสู่
“ความยุติธรรม” ได้มีเสรีภาพและความเสมอภาคที่สมเหตุสมผล
มีโอกาสได้ใช้ความรู้ของผู้หญิงในการออกจากนโยบาย
การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรอย่างแท้จริง
เข้าใจวิถีเมี่ยน เฟยเป็นเมี่ยน เฟยเกิดและเติบโตอยู่ในสังคมวัฒนธรรมของชาติพันธุ์
“เมี่ยน” หรือ “อิวเมี่ยน” หรือที่คนอื่นเรียกกันในชื่อ “เย้า”
เป็นหนึ่งในชาติพันธุ์บนที่สูงที่ตั้งชุมชนกระจายอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยและพบได้ในบริเวณรอยต่อกับประเทศลาวเวียดนาม พม่า และจีน
เมี่ยนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาจมีอายุเก่าแก่เท่ากับกลุ่มชาวฮั่นหรือชาวจีนมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณหุบเขาลุ่มแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ)
ทางตอนเหนือของประเทศจีนเมื่อหลายพันปีมาแล้ว
ต่อมาได้ถูกกวาดล้างโดยจักรพรรดิหวงตี้และเหยียนตี้
เมี่ยนส่วนที่เหลือจากการกวาดล้างได้อพยพลงทางใต้ของจีนได้ถูกรุกรานจากภัยทางการเมืองอีกหลายต่อหลายครั้งโดยเฉพาะในรอบหนึ่งร้อยปีของราชวงศ์หมิงเมื่อถูกกดดันและถูกปราบปรามอย่างรุนแรง
เมี่ยนส่วนหนึ่งจึงอพยพไปยังมณฑลกุ้ยโจวและยูนนานอีกส่วนได้อพยพเข้าไปในประเทศเวียดนาม ลาว และต่อมายังประเทศไทย (ประสิทธิ์
ลีปรีชา ยรรยง ตระการธ ารง และวิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ 2547: 4 – 5)เฟยเล่าประวัติศาสตร์เมี่ยนบ้านปางค่าจากรายงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
เมื่อครั้งมาสัมภาษณ์เฟยเกี่ยวกับเรื่องลายผ้าเมี่ยนว่าเริ่มขึ้นในรัชสมัยของ
“เจ้าอนันตวรฤทธิ์เดชกุลเชษฐ์มหันต์ ไชยนันทบรมมหาราชวงศาธิบดี” เจ้านครน่าน
ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ขณะนั้นบริเวณทิศเหนือของจังหวัดน่านเขตติดต่อกับจังหวัดหลวงน้ำทา
ประเทศลาว มีชาวเมี่ยนและชาวม้งอาศัยอยู่ประมาณสามหมื่นคน มีหัวหน้าชาวเมี่ยนเป็นนักรบที่สำคัญคือ
นายจั่นควร แซ่ตั้ง (แซ่เติ๋น)
เป็นบุคคลที่ไปมาติดต่อกับเจ้านครน่านอยู่เสมอจนเกิดความสนิทสนมชิดชอบ
อาศัยซึ่งกันและกัน เจ้านครน่านในขณะนั้นจึงชวนนายจั่นควรและลูกบ้านอยู่ ณ ที่นั้น
นายจั่นควรและลูกบ้านอยู่ได้ไม่นานเนื่องจากเห็นว่าพื้นที่คับแคบไม่พอกับจำนวนประชากร
จึงได้เข้าเฝ้าเจ้านครน่านและขอซื้อที่ดินบนภูเขา (ที่ราบหุบเขา) ในบริเวณอำเภอเมือง
อำเภอทุ่งช้าง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา สันเขาดอยจี่ ตลอดไปจนถึงขุนน้ำลาว (เชิงคำ
– เทิง) เชียงของและแยกลงมาทางใต้ดอยน้ำโมง ดอยผาจิก ผาลม จนจรดเขตอำเภอเชียงม่วน
เป็นเงินแท่ง 1,000 ตาง (1 ตางเท่ากับ 150 แท่ง บรรทุกม้า 1 ตัว ต่างได้ 150 แท่ง
หนึ่งแท่งราคา 3,000 บาท) เท่ากับ 150,000 แท่ง เป็นเงินทั้งหมด 450,000,000 บาท
(สี่ร้อยห้าสิบล้านบาทในขณะนั้น) ให้กับเจ้านครน่านพร้อมกับขออภิสิทธิ์และอำนาจ
โดยส่งนายลีวุ่ยเฟย น้ำเครื่องบรรณาการและนอแรด 1 คู่ที่สวยที่สุด
พร้อมกับงาช้างอีกจำนวนหนึ่งให้กับเจ้านครน่านเจ้านครน่านเห็นว่านายจั่นควรเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและซื่อสัตย์ต่อพระองค์
ดังนั้นเจ้านครน่านจึงมีบัญชาออกสารตราตั้งให้นายจั่นควร แซ่ตั้ง เป็น“พญาคีรี
ศรีสมบัติ” (บนดอยจะเรียกพญาตั้งจั่นควร)ครอบครองพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมดตลอดจนมีอำนาจตัดสินชำระคดีความทุกอย่างและให้ส่งส่วยราชบรรณาการแด่เจ้านครน่านปีละครั้ง
เมื่อพญาคีรี ศรีสมบัติ น าลูกบ้านชาวเมี่ยนและชาวม้ง เข้ามาในเขตน่านหมดแล้ว จึงไปตั้งบ้านศูนย์กลางอยู่ที่ดอยผาช้างน้อย
(อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอปงปัจจุบัน) เป็นเวลา 44 ปีคือราวๆ พ.ศ.2443 พญาคีรี
ศรีสมบัติ จึงได้ย้ายจากดอยผาช้างน้อยมาอยู่ที่ดอยภูลังกา พ.ศ.2468 พญาคีรี
ศรีสมบัติ ได้เสียชีวิตลง (ณ บ้านปางหมูในปัจจุบัน) ลูกบ้านจึงพากันแต่งตั้งนายโว่นลิ่น
แซ่เติ๋น บุตรชายพญาคีรี ศรีสมบัติ ปกครองชาวเมี่ยนและชาวม้งต่อมา ในนามพญาท้าวหล้า
ศรีสมบัติ” ต่อมา พ.ศ.2475ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย
โดยยุบเลิกตำแหน่ง “พญา” เปลี่ยนมาเป็น “กำนัน” แทน แบ่งเขตการปกครองเป็นตำบล คือ
ตำบลยอดกับตำบลผาช้างน้อย โดยถือสันดอยจี่และการไหลของลำน้ำเป็นเขตแบ่งโดยธรรมชาติ
คือ น้ำที่ไหลจากสันเขาไปทางบ้านยอดเป็นตำบลยอด น้ำที่ไหลทางตะวันตกทั้งหมดถือว่าเป็นตำบลผาช้างน้อย
โดยถือจากจุดเหนือของตำบลดอยจีจนจรดดอยผาช้างน้อย อำเภอเชียงม่วนเป็นเขตการปกครองโดยมีนายฟุเจียม
ศรีสมบัติ บุตรชายคนที่สี่ของพญาท้าวหล้า ศรีสมบัติ เป็นกำนันคนแรกของชาวเมี่ยนและม้ง
นายฟุเจียมอยู่ในตำแหน่งกำนันได้สองปี จึงให้พี่ชายคือ นายเลาสาร ศรีสมบัติ เป็นกำนันแทนต่อมา
พ.ศ.2509 – 1516 บริเวณที่เป็นที่ตั้งของชาวเมี่ยนและชาวม้ง
ถูกคอมมิวนิสต์รุกรานทางฝ่ายปกครองอำเภอปงไม่สามารถขึ้นมาดูแลได้จึงยกตำบลยอดให้กับจังหวัดน่านไปตามคำสั่งของคณะปฏิวัติในพ.ศ.2515 พ.ศ.2511 คอมมิวนิสต์ได้เข้ามารุกราน เหตุการณ์ไม่สงบลุกลามใหญ่โต ทำให้หมู่บ้านต่างๆ
ในตำบลผาช้างน้อยเกิดความไม่สงบสุข
ทางราชการจึงได้อพยพไปอยู่หมู่บ้านในจังหวัดใกล้เคียง เช่น ลำปาง น่าน กำแพงเพชร
จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ราษฎรไม่สามารถตั้งเป็นหมู่บ้านได้
พ.ศ.2513 เหตุการณ์ยังรุนแรง มีการสู้รบระหว่างทหาร ตำรวจตระเวนชายแดนกับพวกคอมมิวนิสต์
ราษฎรจึงได้อพยพไปที่บ้านหนองบัว บ้านแฮะ และบ้านดอนไชย อำเภอปง จังหวัดพะเยากระทั่ง
พ.ศ.2518 เมื่อเหตุการณ์ดีขึ้นแล้ว
ราษฎรที่ได้อพยพไปจึงกลับมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งที่บ้านใหม่ปางค่า
และมีการตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “บ้านใหม่ปางค่า” (ทรงพันธ์ วรรณมาศ
2552: 95 – 100)เฟยเล่าวว่าชาวเมี่ยนมีความเชื่อซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างความเชื่อเรื่องเทพ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติกับบรรพบุรุษ
และความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเต๋า
ชาวเมี่ยนเชื่อในความมั่นคงและความปลอดภัยของมนุษย์ทั้งในขณะที่มีชีวิตและเมื่อตายไปแล้วล้วนขึ้นอยู่กับเทพเจ้าโดยทั่วไปเมี่ยนจะถือว่ากลุ่มเครือญาติมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เพราะความเป็นเครือญาติเป็นระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานของทุกคนในชุมชน
ทุกชีวิตต้องเชื่อมโยงพึ่งพาอาศัยกันตั้งแต่เกิดจนตาย
เมี่ยนจะมีการลำดับญาติโดยให้ความสำคัญกับญาติใกล้ (เชี่ยนฟัด) หรือญาติร่วมสายเลือดที่ต้องรับผิดชอบผีบรรพบุรุษร่วมกันชาวเมี่ยนจะถือเป็นที่พึ่งแรก
ถัดจากญาติใกล้ก็จะให้ความสำคัญกับญาติห่างๆ (เชี่ยนไง)
ซึ่งเป็นผู้มีบรรพบุรุษร่วมสายเลือดเดียวกันมาช่วงหนึ่งต่อมาได้แยกสาแหรกไป
แม้จะถือแซ่เดียวกันแต่มีผีบรรพบุรุษ (จ่าฟินเจี๊ยว) ต่างกัน ถือเป็นที่พึ่งถัดมา
ถัดจากนี้ก็คือญาติทางการแต่งงาน (ชิ่งจาหมั่วต่อย) ญาติร่วมหมู่บ้าน
(โต้งอั๋งจ่วงหลางเมี่ยนหมั่วต่อย) และญาติร่วมเผ่า (เมี่ยมั่วต่อย)
ถือเป็นที่พึ่งสุดท้าย เมี่ยนมีผู้ปกครองหรือหัวหน้าหมู่บ้าน (ต้าวเมี่ยน ล่างโก๋
หรือล่างเจี้ยว) ซึ่งอาจเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการหรือไม่ก็ได้
เฟยเล่าว่าโดยทั่วไปหัวหน้าหมู่บ้านจะเป็นผู้ที่มาจากลุ่มแซ่สกุลที่ใหญ่ที่สุดในหมู่บ้านหรืออาจเป็นผู้นำในการอพยพมาตั้งหมู่บ้านแห่งใหม่ก็ได้
ดังเห็นได้จากเมี่ยนที่ตั้งถิ่นฐาน ณ บ้านปางค่าปัจจุบันก็ให้การนับถือผู้คนในสกุล
“ศรีสมบัติ” ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพญาคีรี ศรีสมบัติ โดยหลักแล้วผู้นำที่มีอำนาจทางการเมืองการปกครอง
หัวหน้าหมู่บ้าน ผู้ประกอบพิธีกรรม และคณะผู้อาวุโสในชนเผ่า จะเป็นผู้ชายทำหน้าที่ปกครองดูแลความสงบเรียบร้อย
ออกกฎระเบียบ ตัดสินคดีความและเป็นตัวแทนของชุมชนในการติดต่อกับสังคมภายนอกโดยปราศจากผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้อง
ชีวิตลุ่มๆ ดอนๆ ของเฟย ศรีสมบัติ เฟยมีท่าทีกระตือรือร้นเมื่อได้เล่าถึงประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์เมี่ยน
สังคมวัฒนธรรมเมี่ยนโดยเฉพาะเมื่อมาถึงเรื่องเล่าของบรรพบุรุษต้นตระกูล “ศรีสมบัติ”
ที่เธอภาคภูมิใจ ทว่าต้องมาสะดุดลงเมื่อเฟยย้อนเล่าถึงชีวิตวัยเยาว์ที่ยากลำบากของเธอ
ชีวิตที่ถูก “ญาติใกล้” รังแกและหมิ่นแคลนมากกว่าจะการโอบอุ้มช่วยเหลือ เฟยในวัย
55 ปี เล่าเรื่องราวในช่วงชีวิตที่ผ่านมาของเธอว่า มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน
ชื่อ“เฟย” ตั้งตามคำแปลในภาษาเมี่ยนว่าสี่หรือคนที่สี่ อีกคำแปลในภาษาจีนจะแปลว่าหญิงซึ่งเกิดในเดือนน้ำค้างที่บริสุทธิ์
เฟยเกิดขึ้นในตระกูลที่สืบเชื้อสายจากพญาคีรี ศรีสมบัติ ผู้นำชาวเมี่ยนและชาวม้งอพยพจาก
จ.น่าน มาอยู่ที่ดอยภูลังกา (พื้นที่หมู่บ้านปางค่า จ.พะเยา ปัจจุบัน) ช่วงชีวิตวัยเด็ก
เฟยเล่าว่าเธอรู้สึกว่าตนเองเป็นคนโชคดีที่ได้เกิดและเติบโตท่ามกลางครอบครัวเมี่ยนที่มีชื่อเสียงกว้างขวาง
มีสมบัติ มีฐานะดี พ่อของเฟยเป็นลูกชายคนโตเพียงคนเดียวในบรรดาพี่น้อง 12 คน
แต่โชคร้ายที่ต้องประสบอุบัติเหตุปืนลั่นใส่ขาจนทำให้พ่อขาพิการ จากเดิมที่พ่อเป็นหน้าเป็นตาของบ้าน
เป็นความหวังของบ้าน ก็กลายเป็นที่รังเกียจของญาติใกล้
เพราะเมี่ยนมีความเชื่อว่าการมีคนพิการในบ้านเป็นเรื่องอัปมงคล เฟยเล่าต่อไปว่า
เธอกำพร้าแม่ตั้งแต่อายุได้ 1 ขวบ หลังจากแม่เสียชีวิตความสัมพันธ์กับพ่อ ปู่
(เล่าต๋า) และญาติพี่น้องยังคงดำเนินไปได้ด้วยดี กระทั่งพ่อและปู่เล็กเสียชีวิตในเวลาห่างกันไม่นานชีวิตของเฟยและพี่ชายกลับตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก
ชีวิตที่กำพร้าพ่อแม่ในบ้านหลังใหญ่ทำให้เฟยและพี่ชายเผชิญหน้ากับความไม่ยุติธรรมครั้งแรกในชีวิต
ทั้งคู่ถูกตราหน้าเป็น “ตัวซวย” ไม่สามารถทำประโยชน์หรือเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้วงศ์ตระกูลได้
เฟยและพี่ชายถูกขับ ให้ไปอยู่ในคอกเลี้ยงหมูข้างบ้านโดยไม่ให้มีทรัพย์สินใดๆ
ติดตัว นัยยะว่าต้องการให้เฟยและพี่ชายทนรับสภาพไม่ได้จนต้องย้ายออกไปจากครอบครัว
ต่อมาชาวบ้านเริ่มซุบซิบนินทาว่าอาๆ ไม่ดูแลเฟยและพี่ชาย
ทั้งที่เป็นสายเลือดของพระยาคีรี ศรีสมบัติเหมือนกัน อาๆ จึงเกิดความละอายให้เฟยและพี่ชายกลับมาอยู่ข้างบ้าน
ทำไร่ทำสวนด้วยกัน โดยไม่เคยให้ค่าตอบแทนใดๆ แลกกับการให้ข้าวกินไปวันๆ เท่านั้น
ในที่สุดพี่ชายทนสภาพนี้ไม่ได้จึงตัดสินใจพาเฟยไปตายเอาดาบหน้าประมาณปี 2511
พี่ชายของเฟยอาสาไปเป็นอาสาสมัครเพื่อสู้กับคอมมิวนิสต์ที่เข้ามาในพื้นที่ภูลังกา
จึงให้พี่น้องผู้หญิงรวมถึงเฟยมาย้ายตั้งถิ่นฐานที่บ้านห้วยอ่วมในจังหวัดพะเยา
จับจองพื้นที่ทำไร่ ปลูกข้าว ต่อมาหน่วยงานราชการมีคำสั่งให้ชาวบ้านที่อยู่กระจัดกระจายมาอยู่รวมกันในพื้นที่หมู่บ้านปางค่า
เฟยได้กลับมาสร้างบ้านใกล้ๆ กับบ้านย่าและอาๆ อีกครั้ง
ความสัมพันธ์ระหว่างเฟยกับญาติเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่น
ไม่นานนักพี่ชายก็ตัดสินใจกลับไปสมัครเป็นอาสาสมัครอีกครั้ง
และพาครอบครัวย้ายไปอยู่บ้านพักในค่ายทหารด้วยกัน เฟยใช้ชีวิตอยู่ในค่ายทหาร
วิ่งเล่น กินนอน คลุกคลีอยู่กับเด็กผู้ชายในค่าย จนวันหนึ่งตำรวจชายแดนคนหนึ่งมาพบเข้าจึงบอกกับพี่ชายว่า
บริเวณค่ายทหารไม่ควรให้น้องซึ่งเป็นเด็กผู้หญิงมาวิ่งเล่น คลุกคลีกับเด็กผู้ชาย
และนายทหารหนุ่มๆ เฟยเข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 – 4 ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย
กำลังอยู่ในช่วงอ่านออกเขียนได้ก็ต้องหยุดเรียนกะทันหันเพื่อออกมาช่วยพี่ชายทำงานหาเงินไปจ่ายเงินกู้และดอกเบี้ยที่กู้มาเพื่อชดใช้ค่าปืนของทางราชการซึ่งถูกไฟไหม้ไปพร้อมกับบ้าน
และชดใช้ค่าเสียหายที่ทำบ้านอาไฟไหม้ โดยเฟยเล่าว่าเรื่องทั้งหมดเกิดจากลูกของอาผู้ชายคนหนึ่งก่อไฟทำกับข้าวกับเฟย
แล้วไฟลามไปติดหญ้าคามุงหลังคาจนไฟลามไหม้บ้าน
แต่กลายเป็นเฟยถูกใส่ร้ายว่าเธอเป็นต้นเหตุ
เสียงของเฟยดังไม่พอให้ใครได้ยินความจริง
จากเหตุการณ์นี้เฟยและพี่ชายถือเป็นมรสุมชีวิตอีกครั้งหลังจากที่ต้องกำพร้าพ่อแม่
พวกเขาต้องทำไร่อย่างหนักเป็นถึง 2 ปีเพื่อหาเงินมาชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดและปลดหนี้เมื่ออายุ
15 ปี เฟยได้รับการอุปการะจากปู่เล็กและได้ย้ายมาใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ
กับย่าเล็ก (ภรรยาคนที่ 2 ของปู่เล็กซึ่งเป็นชาวจีน)
เฟยได้รับการเติมเต็มความรักจากทั้งปู่เล็กและย่าเล็ก
คติชีวิตหลายอย่างของเฟยได้รับการอบรมขัดเกลาจากบุคคลทั้งสอง เฟยพูดย้ำเสมอว่าความอดทนอดกลั้น
ความเข้มแข็ง อ่อนน้อมแต่ไม่อ่อนแอ ความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคชีวิต ความมานะบากบั่น
การทะนงในศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูลล้วนเป็นสิ่งที่ปู่เล็กพร่ำสอนเสมอมา ที่สำคัญที่สุดปู่เล็กสอนให้เฟยรู้จัก
“สังคมที่ยุติธรรม” ที่มีความเท่าเทียมและให้โอกาสสำหรับทุกคนในสังคม
ส่วนย่าเล็กก็ส่งเฟยเรียนตัดเย็บเสื้อผ้าจนได้เป็นอาชีพติดตัว
เมื่อปู่เล็กเสียชีวิต
ย่าเล็กให้เฟยกลับมาอยู่กับพี่ชายที่ค่ายทหารเพราะทราบดีว่าเฟยเป็นที่รังเกียจของลูกๆ
ตนเอง เนื่องจากมีภาพจำว่าเฟยเป็นชาวเขา เป็นผู้อพยพ มีสถานะด้อยกว่า
ตอนไปอยู่กับปู่เล็กชีวิตพี่ดีขึ้น ปู่เล็กกับย่าเล็กเอ็นดูพี่มาก อบรมสั่งสอน
ส่งเรียนเย็บผ้า คอยอบรมสั่งสอน ประคับประคองเราตลอด
เราไม่มีพ่อแม่สอนเพราะฉะนั้นเราต้องไปอาศัยพ่อแม่ของคนอื่น
ปู่สอนว่าอย่าไปยอมใครในเรื่องที่ไม่ถูกต้อง อย่าไปกลัว
เราไม่ใช่คนไม่มีตระกูลเรามีศักดิ์ศรี มันเลยทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่น้อยหน้าใคร
เราต้องเอาชนะคำหมิ่นคน ต้องกล้าหาญ ต้องหมั่นมานะและอดทน
ปู่เล็กสอนให้พี่รู้จักสังคมที่เป็นธรรม เขาชอบยกตัวอย่างเรื่องความยากจนกับความมั่งมี
ปู่เล็กจะสอนว่า ความยากจนกับความมั่งมีนี่มันแบ่งแยกกันไม่ได้
ฉะนั้นทุกคนจึงเป็นไปตามวิถีกรรมของชีวิต คนทุกคนมีศักดิ์ศรีเท่ากัน
ให้เคารพซึ่งกันและกัน ให้มองทุกคนจากฐานความเป็นคน อย่าคิดว่าเราจนแล้วคนร่ำรวยมาขู่เรา
เรายอม เราไม่ต้องยอม เรามีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคนรวย เพราะคนรวยก็เป็นคน
คนจนก็คือคน กินข้าวสารเม็ดเดียวกัน (เฟย ศรีสมบัติ สัมภาษณ์เดือนธันวาคม 2555)หลังกลับจากกรุงเทพฯ
เฟยมาเปิดร้านเย็บผ้าและพบรักกับสามีซึ่งเป็นทหารรับจ้างในค่ายนั้น
ทั้งคู่แต่งงานกัน และแยกออกมาจากบ้านพี่ชาย
สร้างตั้งครอบครัวของตนเองโดยขอแบ่งซื้อที่ดินจากลูกพี่ลูกน้อง (ลูกของปู่สอง)
ในราคา 1,500 บาท ได้เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ มีลูกด้วยกัน 4 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 2
คน
แม้จะอยู่บ้านของตนเองแต่เฟยและสามีก็ต้องอยู่ด้วยความคับข้องใจเพราะบ้านใกล้เรือนเคียงนั้นคือบ้านของพี่น้องซึ่งพากันรังเกียจเดียดฉันท์
เฟยถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นานา เช่น ถูกเอาขยะมาวางหน้าบ้าน นำซากสัตว์ตายมาไว้หน้าบ้าน
กล่าวร้ายว่าไปขโมยถุงยังชีพ ขโมยข้าวจากโรงสี
เฟยรู้ดีว่าสิ่งเหล่านี้คือการแสดงการไม่ยอมรับและต้องการขับไล่ไม่ให้ครอบครัวเธออาศัยบริเวณนั้น
เฟยไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาที่ถาโถม เธอคิด เธอวางแผน และปรึกษากับสามีตัดสินใจพาลูกๆ ย้ายมาสร้างบ้านอยู่กินเองเพียงลำพังในที่ที่ห่างไกลจากญาติพี่น้อง
ชีวิตนอก “บ้าน”: ชีวิตในดินแดนแห่งโอกาสของเฟย เฟยและสามีช่วยกันทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่ข้าวพันธุ์พื้นเมืองและไร่ข้าวโพดบนพื้นที่กว่า
15 ไร่ ชีวิตพอเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวให้อยู่ดี ไม่ลำบาก แต่ก็ไม่ถึงกับสุขสบาย
ไร้หนี้สินปัญหากับญาติพี่น้องก็โถมเข้ามาเป็นระยะๆ แต่ด้วยคำสอนของปู่เล็กที่ให้เห็นว่าสายสัมพันธ์ทางเครือญาติของเมี่ยนเป็นสิ่งที่ตัดไม่ขาด
ทุกชีวิตต้องเชื่อมโยงพึ่งพาอาศัยกันไปจนตาย จึงทำให้เฟยคิดไปข้างหน้าว่าหากครอบครัวของเฟยต้องอยู่ในวังวนของปัญหาไม่เป็นที่ยอมรับของญาติพี่น้องเช่นนี้คงลำบากในอนาคตอาจถูกรังแกได้อีกเรื่อยๆ
ประกอบกับขณะนั้นครอบครัวเฟยเริ่มเผชิญกับปัญหาหนี้สินเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นและราคาพืชผลการเกษตรไม่เป็นใจ
เช้าวันหนึ่งระหว่างทำไร่ข้าวโพด
เฟยได้ฟังรายการข่าวทางวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์มีผู้ประกาศแจ้งว่ามีงานต่างประเทศแนะนำ
เฟยเห็นว่าตนเองมีพื้นฐานทางภาษา อยู่แล้ว จึงตัดสินใจทิ้งครอบครัวไปทำงานเป็นแม่บ้านที่ฮ่องกง
ที่เฟยเรียกว่า “ดินแดนแห่งโอกาส” หวังปลดหนี้ในปี 2531 โดยกู้เงินนอกระบบเพื่อส่งตัวเองไปทำงานที่ฮ่องกงการเข้ากรุงเทพฯ
เพื่อไปสมัครงานไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด ผู้หญิงที่พูดภาษาไทยไม่ชัด
เวลาอยู่ด้วยกันก็คุยกันในภาษาที่แปลกหู ดูรูปลักษณ์ภายนอกแม้จะมีเส้นผมสีดำแต่ก็รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนคนไทย
ท่าทางเก้ๆ กังๆ เพราะไม่คุ้นชินกับเมืองหลวง และยังบอกกับเจ้าหน้าที่ (คนไทย)
ของบริษัทจัดหางานว่าพวกเธอเป็น “ชาวเขา” ยิ่งทำให้เฟยไม่ได้รับการต้อนรับเพราะเจ้าหน้าที่มีภาพจำ
“ชาวเขา” ว่าเป็นต้นตอของภัยต่างๆ ทั้งในแง่ความมั่นคง ผู้ก่อการร้าย ผู้อพยพ
พวกปลูก – สูบฝิ่น ยากจน สกปรก ไม่มีความรู้ ผลที่ตามมาคือ เฟยและเพื่อนๆ
ถูกจับไปขังไว้ในห้องน้ำโดยไม่มีความผิดวันหนึ่งไปทำงานที่ไร่เปิดวิทยุฟังข่าวหกโมงเช้า
ได้ยินเขาบอกว่าถ้าอยากมีชีวิตที่ดีขึ้นลองไปสมัครทำงานต่างประเทศดูไหม ตอนนี้หนี้สินจากที่กู้เงินมาทำไร่ก็เริ่มมาก
ทำไร่หญ้าก็รก ข้าวโพดก็ขายไม่ได้ราคา สุดท้ายสามีก็ยอมให้ไป ลงไปกรุงเทพฯ
ครั้งแรกกับเพื่อน 3 คน พอไปถึงหน้าบริษัท เจ้าหน้าที่ถามเราเสียงแข็งว่าจะไปไหน
พี่บอกว่าจะมาสมัครงาน จะไปเป็นแม่บ้านที่ฮ่องกง เขาถามว่าพวกพี่มาจากไหน พวกพี่ก็ตอบไปตรงๆ
ว่าเราเป็นชาวเขา เขาก็ถามว่าเป็นชาวเขาทำไมพูดภาษาไทยชัด
เขียนภาษาไทยเป็นหรือเปล่า ถ้าเขียนเป็นก็ไปกรอกใบสมัครไว้ กรอกเสร็จก็เอาบัตรประชาชนให้เขาถ่ายเอกสารเวลาคุยกัน
3 คน พวกพี่จะพูดภาษาเมี่ยน พูดไปพูดมาเขาก็เอาพวกเราไปขังไว้ในห้องน้ำเพราะคิดว่าเราอาจจะเป็นคนไม่ดี
พวกเราเป็นชาวเขาไม่น่าไว้ใจ พอผู้จัดการมาเขาให้คนไปพาพวกเราออกจากห้องน้ำแล้วคุยกัน
เขามองเราตั้งแต่หัวจรดเท้า ถามว่าเรามาจากไหน
ก็เล่าให้เขาฟังว่าเราเป็นชาวเขาเผ่าเมี่ยน มีเชื้อสายจีน มาจากพะเยา
เขาลองพูดภาษาจีนกับพี่ พี่ก็ตอบภาษาจีนกับเขา แล้วเขาคงเห็นว่าเราพูดได้ อ่านออก
เขียนได้ เขาเลยนัดวันให้ไปเรียนภาษา ให้วางเงินมัดจำ 5,000 บาท จากนั้นให้ไปทำพาสปอร์ต
ไปเรียนภาษา ซื้อหนังสือ (เฟย ศรีสมบัติ สัมภาษณ์เดือนธันวาคม 2555) ระหว่างทำงานที่ฮ่องกอง
เฟยส่งเงินกลับบ้านทุกเดือนขณะที่สามีที่อยู่บ้านก็ทำไร่ทำสวนเลี้ยงลูก
จัดสรรเงินที่เฟยส่งมาไปใช้หนี้ เก็บไว้เป็นทุนการศึกษาลูกๆ ทั้ง 4 คน ซื้อรถ ส่วนที่เหลือก็นำมาสร้างบ้าน
เฟยเล่าว่าเธอไปทำงานที่ฮ่องกงถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก 2 ปี รอบที่สอง 4 ปี รวม 6 ปี
กระทั่งปี 2539 เฟยตัดสินใจกลับมาอยู่บ้านที่เริ่มตั้งตัวได้คือสิ่งที่หาได้จากฮ่องกง
พี่ไปอยู่กับนายสองครั้ง ครั้งแรกไปสองปีแล้วกลับมา อีกครั้งไปอยู่นานสี่ปี
พอนายผู้ชายจะย้ายไปอยู่แคนาดา นายผู้หญิงขอให้พี่ตามไปด้วยแต่ทำเรื่องไม่ผ่าน
เพราะสัมภาษณ์แล้วนายผู้หญิงเป็นแม่บ้าน ไม่มีงานที่มั่นคง เขาเลยไม่ให้ครอบครัวนี้มีคนติดตาม
นายเลยไปฝากพี่ไว้กับน้องสาวนายผู้หญิง อยู่ได้พักหนึ่งพี่ก็กลับ ก็ซื้อรถได้
ปลูกบ้านได้ ทุกอย่างเราทำได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเรา ไม่ได้พึ่งพาใคร (เฟย
ศรีสมบัติ สัมภาษณ์เดือนธันวาคม 2555)การได้ไปต่างประเทศทำให้เฟยได้โอกาส
ได้รู้เห็น มากกว่าผู้หญิงอื่นๆ ในชุมชน เฟยได้รู้จักคำว่า “สิทธิมนุษยชน”
เป็นครั้งแรก และได้รู้ว่ากฎหมายมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างไรการต้องไปขายแรงงานอยู่ต่างแดนสอนให้เฟยรู้ว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เธอไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง
เฟยได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือสตรีที่ไปทำงานในฮ่องกง
และร่วมกับองค์การออกซ์แฟม (Oxfam) ในฮ่องกง3 ทำกิจกรรมรณรงค์
เดินขบวน ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิแรงงานหญิงที่เข้ามาทำงานในฮ่องกงในวันแรงงาน
เช่น เรื่องวันหยุด ค่าประกันสุขภาพ เงินชดเชยต่างๆ เป็นต้น เฟยได้ร่วมทำงานกับสหภาพแรงงานเพื่อช่วยเหลือแรงงานหญิงที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง
มีการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือเด็กและผู้ด้อยโอกาส
ในช่วงเวลานั้นเฟยได้ร่วมกับแรงงานไทยในฮ่องกงตั้งกองผ้าป่ารวบรวมเงินส่งมาทำกิจกรรมในหมู่บ้านของเธอได้เป็นจำนวนมาก
และเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ภาพผู้หญิงที่ก้าวออกจากหมู่บ้านไปขายตัวอยู่ฮ่องกงเปลี่ยนไปเป็นผู้หญิงเก่ง
ผู้หญิงแกร่ง ที่ทำประโยชน์ให้ชุมชนได้ 3 NGOs ระหว่างประเทศเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับความยากจนและความไม่เป็นธรรม
เฟยเล่าว่าก่อนไปฮ่องกงเธอเป็นผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่ยอมแพ้กับโชคชะตา
เป็นผู้หญิงที่ต่อสู้เพื่อครอบครัวและความไม่ยุติธรรมต่างๆ ถูกคนสังคมเมี่ยนโดยเฉพาะญาติใกล้ดูหมิ่นดูแคลนแต่ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนหลังกลับจากฮ่องกงคือ
เมื่อเฟยสามารถสามารถพึ่งพาตัวเองทางเศรษฐกิจได้
เธอได้รับการยอมรับจากเครือญาติรวมถึงคนในชุมชนมากขึ้น
เมื่อผ่านพ้นวิกฤตความเข้าใจของคนในชุมชนมาได้ เฟยรู้สึกว่าอำนาจในการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจเปรียบเสมือนใบเบิกทางที่ช่วยหนุนเสริมให้เธอมีอำนาจที่จะกำหนดความเป็นไปของตนเองได้
เธออยู่เหนือผู้หญิงอีกหลายๆ คน ที่ยังต้องพึ่งพาพ่อและสามี ไม่สามารถข้ามพ้นกับดัก
“เพราะเป็นผู้หญิง ฉันจึงทำแบบนั้นไม่ดี ทำแบบนี้ไม่ได้” เฟยมีกำลังใจที่จะทำงานมากขึ้นอยู่ที่นู่นพี่เข้าร่วมกับสหภาพฯ
มีทั้งฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เราทำงานด้วยกัน ช่วยเหลือแรงงานหญิง
พอถึงวันแรงงานทีเราจะออกมาเดินขบวน รณรงค์ให้ความรู้กับแรงงานหญิงเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ
ค่าจ้าง วันหยุด ค่าชดเชยต่างๆ พอพี่เริ่มมีเครือข่าย พี่ก็ตั้งกองผ้าป่ารวบรวมเงินส่งมาให้ที่หมู่บ้านทำกิจกรรม
ชาวบ้านเริ่มมองพี่เปลี่ยนไป เรื่องลบว่าเราไปขายตัวค่อยๆ หายไป พี่คิดว่าต้องทำให้เขาเห็นว่าเรามาฮ่องกง
มาทำอะไร แล้วเราทำอะไรได้แค่ไหน เลยตั้งกองผ้าป่า ช่วยกันหลายคน เสร็จแล้วก็รวบรวมเงินส่งให้ที่หมู่บ้านเอาไปทำกิจกรรม
เขาถึงเชื่อว่าพี่มีงานการดีๆ ทำเราผ่านพ้นวิกฤตตรงนี้ไปได้ทำให้พี่รู้สึกว่าพี่มีข้อเหนือกว่าผู้หญิงอื่นๆ
ที่มัวแต่กลัวว่าฉันเป็นผู้หญิง ทำแบบนั้นไม่ดี ทำแบบนี้ไม่ได้
แล้วก็ต้องมานั่งทนทุกข์กับชีวิต พี่คิดว่าเราพึ่งพาตัวเองได้ ไม่ต้องกลัวอะไร อันนี้ทำให้เรารู้สึกมีกำลังใจขึ้นและกล้าเผชิญหน้ากับปัญหาอะไรมากขึ้น
และสามารถช่วยคนอื่นๆ ได้ (เฟย ศรีสมบัติ สัมภาษณ์เดือนธันวาคม
2555)เฟยเริ่มมีเครือข่ายจากการทำงานมากขึ้นเป็นลำดับ เธอได้รับเลือกจากคนในชุมชนรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชนต่างๆ ให้เข้ามาทำงานพัฒนาชุมชนและมีบทบาทในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น เช่น
เป็นที่ปรึกษาให้สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย(ศ.ว.ท./IMPECT)
เป็นคณะทำงานเครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย
ร่วมงานกับศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์
เคยร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพสตรีชนเผ่าเข้าสู่ธรรมรัฐท้องถิ่นร่วมโครงการเขียนรายงานอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
(CEDAW) เป็นกรรมการสมาคมศูนย์การศึกษาและวัฒนธรรมชาวไทยภูเขา
รวมถึงได้ระดมทุนจากองค์กรต่างๆ
ทั้งในและต่างประเทศมาจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมศักยภาพสตรี
อบรมสิทธิของประชาชนให้คนในชุมชนตลอดเวลา ในปี 2552
เฟยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ในชุมชน เช่น
เป็นประธานศูนย์ผลิตภัณฑ์ชาวเขา ประธานสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงปังค่า จำกัด
และได้รับคำชักชวนจากเจ้าหน้าที่สมาคม IMPECT และผู้ประสานงานเครือข่ายสตรีชนเผ่าฯ
ให้เข้าโครงการฝึกอบรมอาสาสมัครกฎหมายเพื่อผู้หญิงชนบทภาคเหนือของประเทศไทย
รุ่นที่ 7 ณ ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีชาวบ้านสนับสนุนให้เฟยลงสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน
แต่เฟยไม่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนั้น จึงได้มาเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่งแทน
พร้อมๆ กับได้เริ่มเห็นปัญหาอุปสรรคในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงในพื้นที่สาธารณะประมาณปี
2554 สามีเฟยล้มป่วยเป็นอัมพฤกษ์
เฟยต้องปรับตัวครั้งใหญ่และต้องเป็นหัวหน้าครอบครัวเต็มตัว ช่วงปีแรกที่สามีล้มป่วย
เฟยต้องรับภาระงานที่ไร่เพียงลำพัง ตัดสินใจจัดการปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง
เฟยเล่าว่าเธอยังคงต้องทำงานบ้าน ดูแลสามี เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู ทำงานในฐานะ ส.อบต.
ควบคู่กับงานพัฒนาต่างๆ แต่ภาระงานที่ต้องออกนอกพื้นที่หรือต้องไปพักค้างแรมที่อื่นจำเป็นต้องหยุดไปก่อน
ประวัติชีวิตและโลกนอกบ้านของเฟย ทำให้เห็นถึงกระบวนการสร้างตัวตนของเฟยดังจะเห็นว่า
การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากญาติพี่น้องจนต้องออกจากบ้านไปหาเลี้ยงตัวเองเพียงลำพังกับพี่ชาย
มีพี่ชายเป็นคนสอน เติบโตในค่ายทหาร
ได้รับอุปการะและอบรมสั่งสอนจากปู่เล็กให้เป็นคนกล้าหาญ เข้มแข็ง อดทน
รักในเกียรติยศศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูล
เหล่านี้ล้วนเป็นอุดมการณ์แบบปิตาธิปไตยที่แฝงฝังอยู่ในตัวตนของเฟย
เมื่อเฟยเลือกใช้ชุดอุดมการณ์นี้ในการต่อสู้เพื่อให้เข้าถึงความเป็นธรรม
เฟยจึงมีความแตกต่างจากผู้หญิงเมี่ยนคนอื่น นอกจากนี้
ยังได้เห็นว่าความเป็นผู้หญิงของเฟยเคลื่อนไหลไปตามบริบทและเปลี่ยนไปตามช่วงวัยของชีวิต
ตั้งแต่เล็กจนโตประสบการณ์ชีวิตสอนให้เฟยหยิบใช้อุดมการณ์ในการต่อสู้หรือต่อรองกับความไม่ยุติธรรมด้วยวิธีการที่ต่างกัน
ในวัยเด็กเฟยอาจสยบยอมให้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมในครอบครัว แต่เมื่อโตขึ้นเฟยเริ่มเข้าพาตัวเองเข้าหาอำนาจที่เหนือกว่า
เช่น เข้าไปอยู่ในค่ายทหาร ให้ทหารช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยปัญหาในครอบครัว และใช้อำนาจกฎหมายในการจัดการเมื่อถูกกลั่นแกล้งโดยไร้เหตุผล
ขณะที่การก้าวข้ามกรอบประเพณีดั้งเดิมโดยการออกจากปริมณฑลที่เชื่อว่าเป็นของผู้หญิงหรือ
“บ้าน”
และออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนนอกบ้านด้วยการเข้าไปใช้ชีวิตในปริมณฑลของผู้ชายหรือที่สาธารณะก็ได้กำหนดตัวตนอีกรูปแบบหนึ่งของเฟยขึ้นมาพร้อมๆ
กับการวางเป้าหมายการใช้ชีวิตที่ไม่หยุดเพียงแค่ครอบครัวตนเอง
แต่ยังหวังถึงการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและความอยู่ดีกินดีของผู้คนในชุมชนที่เธออยู่อาศัยด้วยเรื่องราวส่วนหนึ่งของเฟยได้ทำให้เห็นว่าวัฒนธรรมและประเพณีปฏิบัติของเมี่ยนเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับบทบาททางเพศสภาพภายในครอบครัวและเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองและเวทีสาธารณะของผู้หญิง
ขณะที่ปัจจัยทางวัฒนธรรมบางประการก็มักตอกย้ำบทบาทหลักของผู้หญิงในฐานะที่เป็นเมียและแม่
เข้าใจความเป็นผู้หญิงเมี่ยน เฟยเป็นผู้หญิงเมี่ยน (ที่ไม่ดี)หากเปรียบเทียบเฟยกับผู้หญิงเมี่ยนคนอื่นๆ
จะเห็นความแตกต่างอยู่มากทั้งวิธีคิด คิดพูดและการแสดงออก
ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาสอนให้เฟยรู้จักการต่อสู้ ต่อรอง กับบริบทแวดล้อมเสมอ เฟย
กล่าวว่าหากเธอไม่กล้าทำต่างออกไป ไม่กล้าทำสิ่งที่เธอเชื่อว่าถูกต้องแต่ไม่ถูกใจคนอื่น
เฟยจะไม่สามารถหลุดพันจากปัญหาชีวิตและขึ้นมาเดินนำคนในชุมชนได้ เฟยอาจยังคงเป็นผู้หญิงที่มีสถานภาพต่ำต้อยในสังคมเมี่ยน
ไร้อำนาจต่อรองใดๆตั้งแต่เล็กเฟยเห็นว่า ผู้ชายมีหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดในครอบครัว
ตอนปู่ยังมีชีวิต ปู่เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนในบ้านและแม่ของเฟยซึ่งเป็นลูกสะใภ้
หัวหน้าครอบครัวต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อการหาเลี้ยงครอบครัว ผู้หญิงมีหน้าที่ต้องทำงานหนักทั้งในบ้านและในไร่
ต้องอยู่ภายใต้ความคุ้มครองดูแลของผู้ชาย และต้องอุทิศตัวต่อสามีและลูกเฟยเล่าว่าตามที่ปฏิบัติกันมาผู้หญิงเมี่ยนจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ได้สินทรัพย์ต่างๆ
อำนาจการจัดการ การตัดสินใจเป็นของสามี เพื่อนของเธอคนหนึ่งเมื่อเลิกกับสามีแล้ว
ไม่เหลืออะไรนอกจากเสื้อผ้า 1 ชุด ที่ติดตัวมาเท่านั้น การประกอบอาชีพผู้หญิงจะเป็นหลักในการลงแรงภาคการเกษตร(ปลูกข้าว
ข้าวโพด) แต่ไม่สามารถครอบครอง ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้
ไม่ว่าจะมีความรู้ความสามารถก็ไม่สามารถแสดงออกได้
นอกจากจะอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของสามี หรือผู้ชายเท่านั้นวิถีปฏิบัติทั่วไปของชาติพันธุ์เมี่ยนจะยกให้บ้านเป็นพื้นที่หลักของผู้หญิง
ดังนั้น “ผู้หญิงที่ดี” ต้องมีคุณสมบัติ เช่น ต้องอยู่บ้านเฝ้าเวียง
ไม่อยู่กับผู้ชายสองต่อสอง ทำกับข้าว ทำความสะอาดบ้าน เลี้ยงสัตว์ ที่สำคัญต้องเย็บและปักผ้าเป็น
หากหญิงคนใดเย็บผ้าไม่เป็นจะเป็นแม่ศรีเรือนไม่ได้ เพราะผู้หญิงเมี่ยนมีหน้าที่สำคัญในการดูแลเครื่องนุ่งห่มของสมาชิกในครอบครัว
ผู้หญิงที่ออกนอกบ้านกลายเป็นคนแหกกฎ
ย่าสอนว่าผู้หญิงที่ดีต้องอย่าต่อปากต่อคำต้องอดทน
ต้องไม่ทะเลาะเบาะแว้งกับใคร ต้องดูแลบ้านให้สะอาด ดูแลอาหารการกิน
ดูแลเครื่องนุ่งห่มให้กับครอบครัว ผู้หญิงอยู่บ้านอย่าริอาจก้าวออกไปนอกบ้าน
อย่าแหกกฎบ้าน ถ้าเราออกไปข้างนอกไปรับอะไรต่อมิอะไรมาจะนำความไม่สงบสุขเข้ามาในบ้าน
ไม่เป็นมงคล (เฟย ศรีสมบัติ สัมภาษณ์เดือนธันวาคม 2555) เฟยเล่าว่าโดยทั่วไป
เมี่ยนใช้การสืบสายสกุลฝ่ายพ่อ ให้ความนับถือและสืบเชื้อสายทางฝ่ายสามี
รวมทั้งผีบรรพบุรุษของสามีด้วย ผู้หญิงถือเป็นของต่างสกุล
หากมีครอบครัวแล้วต้องออกเรือนไปอยู่กับครอบครัวของสามี ต้องมีความอดทน
เพื่อให้ครอบครัวอยู่รอดและมีความสุขต่อไปในอนาคต
เมื่อหญิงเข้ามาอยู่กับชายหลังการแต่งงานแล้วก็จะต้องนับถือญาติทางสามีและนับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายสามีแต่ในการทำพิธีกรรมต่างๆ
ยังใช้แซ่ของตนอยู่ตลอดไป
ลูกที่เกิดมาจะต้องใช้แซ่ของบิดาและต้องนับถือผีบรรพบุรุษของบิดา ทรัพย์สิน
มรดกของพ่อจะตกทอดถึงลูกชาย
ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้วจะกลับมาอยู่กับบิดามารดาของตนหรือนับถือผีบรรพบุรุษร่วมกันไม่ได้เลยทุกกรณี
เมื่อแต่งงานแล้วผู้หญิงคือสมบัติของผู้ชาย ผู้ชายมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองและหาเลี้ยงครอบครัว
หญิงที่แต่งเข้าบรรพบุรุษของฝ่ายชายถือว่าเป็นแรงงานของครอบครัวนั้น สำหรับการแต่งงานในลักษณะให้ผู้ชายแต่งเข้าบรรพบุรุษหญิง
ไปอาศัยอยู่ในบ้านของฝ่ายหญิงและสืบสกุลของฝ่ายหญิงเรียกว่า “การขึ้นเขย”
ครอบครัวของเฟยจัดอยู่ในกลุ่มแต่งเข้าบรรพบุรุษหญิง เพราะสามีเธอกำพร้าพ่อแม่
มีแต่ญาติห่างๆ ที่ไม่เคยได้ให้ความช่วยเหลือดูแลกัน
เฟยขอให้สามีแต่งเข้าบรรพบุรุษของเธอเพราะคิดว่าหากแต่งเข้าฝ่ายชาย
ตนเองและสามีจะกลายเป็นแรงงานของญาติห่างๆ ผลผลิตที่เก็บหาได้ทั้งหมดต้องตกเป็นของญาติ
ซึ่งเธอเห็นว่าไม่ถูกต้อง นอกจากนี้
ยังเห็นว่าตระกูลของเฟยเป็นตระกูลที่มีชื่อเสียงกว้างขวาง สืบเชื้อสายจากพญาคีรี
ศรีสมบัติ ผู้นำคนสำคัญในสังคมชาติพันธุ์เมี่ยน จึงอยากใช้สกุลแซ่นี้ให้ได้เป็นเกียรติยศศักดิ์ศรีสืบต่อไปเพราะเฟยเป็นผู้หญิงที่มีบทบาทนอกบ้านอย่างชัดเจน
“ผู้หญิงที่ดี”
ตามที่ผู้หญิงเมี่ยนทุกคนได้รับการอบรมขัดเกลามาจึงดูห่างไกลจากตัวเฟย
และส่งผลกระทบต่อเฟยและครอบครัวเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อครั้งที่เฟยตัดสินใจเดินทางไกลไปทำงานที่ฮ่องกงแม้เฝยจะมองว่านั่นคือโอกาสให้เธอได้เจอโลกกว้าง
ได้เรียนรู้ และแสวงหาประสบการณ์นอกบ้าน แต่เฟยต้องเผชิญกับข่าวคราวเสื่อมเสียของตนเองข้อกล่าวหาว่าเฟยไปขายบริการ
ตกอับไม่มีที่ดินทำกินเนื่องจากการประกาศเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ส่งผลกระทบต่อทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะกับสภาพจิตใจลูกๆ
เฟยเล่าว่าลูกของเธอไม่กล้าไปโรงเรียนเพราะเพื่อนล้อ แม้กระทั่งครูก็ซุบซิบนินทา
เฟยได้แต่ปลอบให้ทุกคนอดทน เวลาไปทำงานกับสหภาพแรงงานแม่บ้านแห่งเอเชีย
รณรงค์ร่วมกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย หรือไปทำงานรณรงค์กับรัฐบาลฮ่องกง
เฟยจะส่งรูปมาให้ที่บ้านดู และบอกให้ลูกเอาภาพที่ส่งมาไปให้ครูและเพื่อนๆ
ดูเพื่อบอกเล่าว่าแม่ของตนไปทำอะไรบางครั้งใช้วิธีการสื่อสาร
อัดเทปแทนการเขียนจดหมายเล่าเรื่องต่างๆ ส่งไปรษณีย์มาให้สามีและลูกเปิดฟัง เหตุการณ์ที่ทำให้เฟยได้รับการยอมรับมากขึ้นจากคนในชุมชนก็คือการรวบรวมเงินผ้าป่าส่งมาให้หมู่บ้านได้ถึง
50,000 บาท ถ้าเราย้อนกลับไปดูเรื่องวัฒนธรรมประเพณี ผู้หญิงชนเผ่าเมี่ยนที่จะออกมาทำงานเรื่องสังคม
ช่วยเหลือคนในชุมชน แทบไม่มีทางออกไป
บันทึกของนักพัฒนาระบุไว้ว่าหากมีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับผู้หญิงเมี่ยน
นอกจากการติดต่อผ่านผู้นำของหมู่บ้านแล้วกลุ่มต่างๆ แล้ว จำเป็นต้องติดต่อขออนุญาตหัวหน้าครัวเรือนหรือสามีของผู้หญิงคนนั้นเสียก่อนที่จะไปเจรจากับผู้หญิงคนนั้นโดยตรง
(กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 2555: 16)เลยวัฒนธรรมประเพณีชนเผ่าแทบไม่มีพื้นที่ให้ผู้หญิงเดินล้ำหน้าผู้ชายไป
ประเพณีบอกว่าผู้หญิงต้องเดินอยู่ข้างหลังแล้วผลักดันให้สามีเป็นคนออกหน้าออกตา
การที่เฟยออกมาทำงานชุมชนทำให้ครอบครัวและสามีได้รับผลกระทบเช่นกัน
สามีถูกมองว่าเป็นช้างเท้าหลังของภรรยา กระทบไปถึงลูกๆ ด้วยว่า
ถ้าจะมีใครแต่งงานกับลูกชาย ลูกสาวบ้านนี้ จะถูกมองว่าแม่ของพวกเขาไม่ได้เป็นผู้หญิงที่อยู่ในกรอบจารีตประเพณี
(เฟย ศรีสมบัติ สัมภาษณ์เดือนธันวาคม 2555)ในฐานะแม่ เฟยสำนึกในตนตลอดเวลาว่าเธอเติบโตขึ้นท่ามกลางความไม่เป็นธรรม
เธอเป็นผู้ถูกกระทำมาก่อน
เฟยจึงเลือกที่จะอบรมสั่งสอนลูกผู้หญิงและลูกผู้ชายให้เติบโตขึ้นด้วยความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง
คำสอนของปู่ยาตายายเรื่องใดที่เห็นว่าเป็นการกดขี่ทางเพศหรือผลิตซ้ำอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ในบ้านเฟยจะไม่สอน
เฟยบอกลูกๆ เสมอว่า ภาระงานที่สามารถช่วยเหลือกันได้ต้องช่วยกันทำไม่บอกปัดว่าสิ่งนั้นคืองานของผู้หญิง
สิ่งนี้คืองานของผู้ชาย แต่งานใดที่ผู้หญิงทำไม่ได้เนื่องจากความแตกต่างทางสรีระต้องให้เป็นหน้าที่ของลูกชาย
เฟยกล่าวว่า “ผู้หญิงที่ดี” ไม่จำเป็นต้องอยู่บ้านเฝ้าเวียง
แต่ควรเป็นคนมีจิตใจงาม มีเมตตา ต้องกล้าปกป้องสิทธิของตัวเองปัจจัยทางวัฒนธรรมและการอุดมการณ์
“ผู้หญิงที่ดี” เป็นเครื่องตอกย้ำบทบาทหลักของผู้หญิงในฐานะที่เป็นเมียและแม่ให้จำกัดอยู่ในพื้นที่ของบ้านและครอบครัว
ผู้หญิงเมี่ยนที่ขบถต่อประเพณีปฏิบัติดั้งเดิมจะถูกประณามในฐานะที่เธอไม่น้อมรับกับบทบาททางเพศที่บรรพบุรุษสร้าง
ผู้หญิงจะถูกติฉินนินทา กล่าวร้าย สังคมจะบีบบังคับให้เธอต้องทำตามที่วัฒนธรรมกำหนดด้วยวิธีต่างๆ
ผลร้ายที่ผู้หญิงจะได้รับนอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อสภาพจิตใจของเธอแล้ว ยังทำให้ผู้หญิงต้องเผชิญกับการถูกละเมิดสิทธิในหลายๆ
ด้าน ตลอดจนถูกละเลยสิทธิในการตัดสินใจดำเนินชีวิตของตนเอง และเป็นการจำกัดสิทธิในการเข้าไปมีบทบาททางการเมืองมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างของเฟยเป็นภาพสะท้อนต่อสภาวการณ์เช่นนี้ได้เป็นอย่างดี
เมื่อวิถีชีวิตเฟยเดินสวนทางกับประเพณีปฏิบัติที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้ออกมาเป็นผู้นำ
คำตัดสินแรกที่เธอได้รับจากสังคมวัฒนธรรมเมี่ยนคือ “เป็นผู้หญิงไม่ดี”
เฟยไม่จำนนต่อคำกล่าวหานี้เธอจึงสามารถพิสูจน์ตัวเอง ทำให้สังคมได้ตระหนักในคุณค่าของผู้หญิงในอีกแง่มุมหนึ่งที่ต่างออกไปจากที่วัฒนธรรมกำหนด
นอกจากเฟยจะเป็นตัวอย่างให้ผู้หญิงได้เห็นว่า ผู้หญิงมีสิทธิในการกำหนดความเป็นไปของตนเองได้แล้ว
เฟยยังส่งต่ออุดมการณ์เหล่านี้ไปยังลูกๆ ด้วยการไม่ผลิตซ้ำอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ในครอบครัวด้วย
ชีวิตและอุปสรรคในการเมืองท้องถิ่น อุปสรรคในการเข้าถึงความยุติธรรม
เฟยเล่าย้อนไปถึงช่วงเวลาที่เธอตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.อบต.
แห่งหนึ่งว่า เธอมีความเชื่อว่าการได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นคำตอบหนึ่งของการ
“เข้าถึงความยุติธรรม” ของเธอและผู้หญิงเมี่ยนทุกคน
เพราะนี่คือโอกาสที่จะทำให้เฟยหลุดพ้นจากคำว่าอ่อนแอ ได้เข้มแข็งขึ้น
ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนบ้านให้เธอได้ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนได้อย่างอบอุ่น
ทั้งยังเป็นโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่แห่งการใช้อำนาจตัดสินใจ พื้นที่แห่งการร่วมวางนโยบายพัฒนาปากท้อง
พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ผู้หญิงจะได้เข้าไปร่วมกำหนดได้เอง
และพื้นที่แห่งการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร (ผู้ชาย)
เฟยเล่าว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้หญิงจะยืดหยัดในพื้นที่ทางการเมือง
(อย่างเป็นทางการ) ได้โดยไม่มีอุปสรรค ผู้หญิงในชุมชนหลายคนที่มีบุคลิกคล้ายเฟยต้องจำนนต่ออำนาจชายเป็นใหญ่ในเวทีการเมือง
ยอมถอนตัวหรือย้ายออกนอกพื้นที่ก็มี ก่อนหน้าที่จะได้รับเลือกเป็น ส.อบต.
เฟยมีประสบการณ์จากการทำงานพัฒนาชุมชนมานานกว่าทศวรรษโดยไม่มีตำแหน่งใดๆ
นอกจากตำแหน่งผู้นำอย่างไม่เป็นทางการที่เธอเรียกตัวเองว่าเป็น “ผู้นำสมัครเล่น”
เฟยคิดเสมอก่อนตัดสินใจลงสมัคร ส.อบต. ว่าการที่เธอจะมีตำแหน่งชัดเจนอาจเป็น
ข้อจำกัดในการทำงานของเธอ
เพราะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและอาจได้รับแรงกดดันจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
แต่เมื่อเห็นว่าการเมืองอาจมีข้อดีมากกว่านั้น เฟยจึงตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น
ส.อบต. ในที่สุดในการลงสมัครเลือกตั้งเป็น ส.อบต. ครั้งแรก เมื่อปี 2548
เฟยเน้นหาเสียงกับกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มแม่บ้านในพื้นที่เป็นหลัก
เฟยสอบตกเพราะถูกโกงการเลือกตั้ง แต่ผลจากการสอบตกในปี2548 ไม่ได้ทำให้เฟยทำงานพัฒนาชุมชนน้อยลง
กระทั่งปี 2552 เฟยสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง
ในครั้งนี้เฟยขยายฐานเสียงในพื้นที่ให้กว้างกว่าครั้งก่อน
โดยเน้นหาเสียงในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มผู้ชายในที่สุดเฟยได้รับเลือกให้เป็น
ส.อบต. แต่กว่าจะได้มาซึ่งตำแหน่งนั้น เฟยต้องต่อสู้กับนานาวิธีที่กีดกันเฟยออกจากกระบวนการสมัคร
เช่น การขอร้องให้ถอนตัว การข่มขู่คนรอบข้าง กล่าวหาว่าครอบครัวของเฟยเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า
เป็นต้น
ชีวิต ณ อบต. แห่งหนึ่งของเฟย
ชีวิตในพื้นที่การเมืองท้องถิ่นของเฟยเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อกันยายน
2552 อบต. ที่เฟยเป็นสมาชิกอยู่จัดเป็น อบต. ขนาดเล็ก คือมีเกณฑ์ระดับรายได้ไม่ร่วมเงินอุดหนุนต่ำกว่า
6 ล้านบาท (สำนักงานการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออนไลน์ 2553)
โครงสร้าง อบต.ประกอบด้วยนายก อบต. ที่มาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น 1 คน
และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 14 คน
ซึ่งเลือกตั้งขึ้นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจาก 7 หมู่บ้านๆ ละ 2 คน ในเขต
อบต. ในจำนวนสมาชิกทั้ง 14 คนนี้ เป็นผู้หญิงเพียง 2 คนเท่านั้นคือ เฟย และ ส.อบต.
ที่ได้รับเลือกจากหมู่ที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 13 ของจ านวนสมาชิกทั้งหมดในสภาฯเฟยไม่รู้ว่าอนาคต
4 ปี จากนี้จะเป็นอย่างไร ไม่รู้ว่าการเป็นผู้หญิงส่วนน้อย 1 ใน 2 คนของสภาฯ
จะส่งผลต่อการทำงานของเธออย่างไร ในวันที่มีคำสั่งแต่งตั้งเฟยรับรู้ว่านี่คือความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของเธอ
เพราะก่อนหน้านี้ผู้ที่จะได้รับเลือกให้เป็นผู้นำมักเป็นคนมีฐานะมากกว่าคนที่มีความรู้
เฟยเล่าว่าชาวบ้านเชื่อคนมีฐานะคือผู้ที่มีทรัพย์สินมากพอแล้ว ดังนั้นเขาจะไม่ฉ้อโกง
ที่สำคัญผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้ผู้หญิงคนอื่นๆได้เห็นว่าผู้หญิงสามารถเข้าไปทำงานการเมืองได้การเป็นผู้หญิง
(ส่วนน้อย) ในสภาฯ กลับกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เฟยไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมและมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างเต็มที่
ความมุ่งหวังแต่เดิมที่เคยมีก่อนได้รับการเลือกตั้งว่าจะเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในชุมชน
เข้ามากำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนในเรื่องปากท้อง
ชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาต่างๆ ให้ดีขึ้น กลับถูกกีดกัน
เฟยรู้สึกว่าตัวตนของเฟย ค่อยๆ ถูกลดเลือนลงโดยกลุ่มผลประโยชน์ในสภาฯผู้หญิงที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจเข้ามาทำงานให้ชุมชน
สุดท้ายจะถูกสภาพแวดล้อมชายเป็นใหญ่กลืนไปหมด ถ้าผู้หญิงเราไม่ยอมปรับตัวจะทำงานร่วมกับผู้ชายไม่ได้
ตอนแรกพี่คิดไว้เลยว่าฉันจะเข้าไปปรับตรงนั้น ตรงนี้
อยากเข้าไปดูแลปัญหาปากท้องประชาชน ปัญหาสิ่งแวดล้อม
เพราะคิดว่าเราละเอียดอ่อนทางความคิด สุดท้ายเราต้องปรับตัวเอง
หาทางอยู่กับเขาให้ได้ จะทำยังไงให้ไม่ถูกกีดกันนี่เราต้องคิด เราเป็นเหมือนแกะดำมันอยู่ยาก
ไปไหนก็ถูกสังเกต ไปไหนก็ถูกจับจ้อง (เฟย ศรีสมบัติ สัมภาษณ์เดือนพฤศจิกายน 2555)
ในช่วงแรกของการท างานสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เฟยได้ยินคำกล่าวหนึ่งในทำนองว่า
ผู้หญิงจะมาทำลายบรรยากาศการทำงานของสภาฯ จากผู้นำชายบางคน
เฟยรู้สึกว่าตนเองแทบไม่ได้รับการยอมรับและแทบไม่มีผู้รับฟังความคิดเห็นในการประชุมแต่ละครั้ง
เป็นเวลานานถึง 2 ปี ที่เฟยรู้สึกว่าตนเอง “โดดเดี่ยว” เฟยเล่าว่าถึงแม้ ส.อบต.
บางคนจะเห็นด้วยกับความคิดของเธอ แต่ไม่มีใครกล้าสนับสนุนอย่างเปิดเผย เฟยต้องปรับตัวเอง
หาวิธีการเพื่อใช้ต่อสู้กับอคติต่างๆ นานา ที่ติดมากับความเป็นผู้หญิงของเธอ
เฟยเล่าว่าเธอต้องปรับตัวจากที่เป็นคนตั้งหน้าตั้งตาทำงาน ไม่สนใจคำติฉินนินทา
ก็เริ่มแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของผู้อื่นมากขึ้น
เริ่มตอบโต้ในสิ่งที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง
เริ่มใช้ความรู้ด้านกฎหมายมาเป็นเครื่องมือในการชี้แจงเหตุและผลพร้อมๆ กับลงมือทำงานอย่างแข็งขันเพื่อพิสูจน์ให้สมาชิกสภาฯ
และชาวบ้านได้เห็นศักยภาพของเธอ
เฟยเล่าว่าเธอถูกกีดกันจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองหลายครั้ง
โดยเฉพาะในพื้นที่สภาฯเฟยถูกกีดกันไม่ให้เป็นประธานสภาฯ
เพราะสมาชิกบางคนเกรงว่าหากเฟยซึ่งเป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องการใช้อำนาจ
และเข้าใจกฎหมายได้ขึ้นมาเป็นประธานสภาฯ พวกเขาจะไม่สามารถแสวงผลประโยชน์ได้ถึงแม้เฟยจะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งประธานสภาฯ
แต่เฟยก็ยังคงทำหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุมการบริหาร อบต. ของฝ่ายบริหารอย่างเคร่งครัด
โดยเฉพาะในเรื่องการให้ความเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่มาจากภาษีของประชาชน
จนบางครั้งสร้างความไม่พอใจให้สมาชิก อบต. คนอื่นๆ และทำให้เฟยถูกข่มขู่จากนายช่างและผู้นำใน
อบต. กรณีที่เธอถามถึงความไม่ถูกต้องในการจัดซื้อจัดจ้างงานก่อสร้าง บำรุงรักษาถนนเฟยยอมรับว่าการเป็นผู้หญิงในสภาฯ
บางครั้งต้องหลับหูหลับตาให้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เฟยเล่าว่าเพราะเป็นผู้หญิงจึงไม่มีอำนาจต่อรองกับสมาชิกส่วนใหญ่
เฟยรู้สึกกดดัน คับข้องใจเสมอเมื่อต้องรับรู้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องแต่ทำอะไรไม่ได้
เฟยเกรงว่าตนจะติดร่างแหไปด้วยทั้งที่เธอไม่เคยมีส่วนร่วม สิ่งเหล่านี้ทำให้เฟยรู้สึกหวาดระแวง
และรู้สึกว่าสภาฯ ไม่ใช่ที่ที่ปลอดภัยสำหรับเฟย ประกอบกับการมีเครือญาติเป็นผู้นำใน
อบต.
ฝ่ายปกครองหลายระดับทั้งนักการเมืองและข้าราชการก็มีสายสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันในเครือญาติ
ยิ่งสร้างความไม่สบายใจให้เฟยมากขึ้น
ทุกครั้งที่เห็นความไม่โปร่งใสโดยคนนามสกุลเดียวกัน ทำให้เฟยรู้สึกกระอักกระอ่วนใจที่ต้องในความช่วยเหลือ
แต่เพื่อให้งานนั้นผ่านไปได้โดยที่เฟยไม่ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีจากสมาชิกสภาฯ
และพี่น้อง เฟยเล่าว่าเธอต้องรวบรวมความกล้าในตัวต่อรองกับอำนาจในสภาฯ
นี้ด้วยการแสดงเจตจำนงชัดเจนว่าเพื่อความยุติธรรม หากสภาฯได้ ผู้นำ หรือสมาชิกสภาฯ
บางคนได้เธอต้องได้ด้วย
แล้วเธอจะยอมปล่อยผ่านเฉพาะเรื่องที่พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่กระทบผลประโยชน์ของชาวบ้านร้ายแรงเท่านั้น
เพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่เฟยต้องการทำให้ชุมชนในโอกาสต่อไปเฟยเล่าผู้หญิงชาติพันธุ์ที่ก้าวไปทำงานการเมืองอาจกลายเป็นที่ระบายอารมณ์ของผู้ชายหลายครั้งเฟยและผู้หญิงคนอื่นๆ
ต้องตกเป็นเหยื่อการคุกคามทางเพศถูกใช้วาจา ถ้อยคำน้ำเสียง และแสดงท่าทางที่ทำให้เฟยรู้สึกอับอายเวลาต้องออกไปประชุมร่วมกับสมาชิกชายภายนอก
บางครั้งถูกสังคมซุบซิบนินทาว่าเฟยแอบไปคบชู้สู่ชายโดยเอาเรื่องงานมาบังหน้า โชคดีที่สามีและลูกเข้าใจสิ่งที่เฟยทำ
ครอบครัวจึงไม่มีปัญหา เฟยเชื่อว่าสิ่งนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงชาติพันธุ์ไม่อยากเข้ามาทำงานการเมืองหรือทำงานในพื้นที่สาธารณะ
เพราะประเพณีปฏิบัติถือกันว่าผู้หญิงออกไปข้างนอกกับผู้ชายที่ไม่ใช่สามี
ไม่เหมาะสม เป็นผู้หญิงไม่ดี
เฟยต้องปรับทัศนคติกับผู้หญิงเหล่านั้นว่าหากไม่หลุดพ้นจากอำนาจเหนือของความเป็นชายที่ครอบงำผู้หญิงอยู่
ผู้หญิงจะไม่มีโอกาสได้ออกมายืนแถวหน้า และไม่สามารถหาความมั่นคงให้ตนเองได้
ต้องเป็นผู้รอรับคำสั่งอย่างเดียว สิ่งที่เฟยได้รับจากการเข้าไปเป็น ส.อบต.
ถือเป็นบทเรียนที่หาไม่ได้จากสถาบันหรือตำราใดๆ เฟยทุ่มเทชีวิตให้กับการทำงานอย่างหนัก
เฟยอาจรู้สึกเหนื่อยและท้อกับการทำงานหลายครั้ง แต่สิ่งที่ทำให้ เฟยต้องเดินต่อไปเป็นเพราะเธอเห็นว่างานภาคประชาชน
รวมถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิของผู้หญิงเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้จะหยุดไม่ได้
การมีตำแหน่งอยู่ในสภาฯ แม้จะเต็มไปด้วยเงื่อนไขและทำให้เฟยรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจต่อรองลดลง
เฟยยังคงมุ่งมั่นใช้ตำแหน่งและพื้นที่ในสภาฯ ในการทำงานเพื่อชุมชนให้คุ้มค่าที่สุด
แต่ในอนาคตเฟยกลับคิดว่าพื้นที่ตรงนี้ไม่ใช่ที่ที่เหมาะสมกับเธอ
เธอตัดสินใจว่าจะไม่ลงสมัครเป็น ส.อบต. อีกในสมัยหน้า เพราะอยากทำงานขับเคลื่อนนอกสภาฯ
ซึ่งมีความอิสระมากกว่า และสามีขอร้องให้หยุดงานการเมืองท้องถิ่นเพราะเกรงเรื่องความปลอดภัย
แม้ชาวบ้านหลายคนจะขอร้องให้เธอลงสมัครรับเลือกเป็น ส.อบต. อีกครั้ง คิดว่าตอนนี้คนในชุมชนยังไม่รู้เรื่องสิทธิ
ผู้หญิงยังไม่รู้ว่าอะไรคือสิทธิของพวกเขา
ไม่รู้ว่าควรจะลุกมาปกป้องสิทธิของตนเองอย่างไร เพราะยังกลัวอำนาจที่เหนือกว่าของผู้ชาย
โครงสร้างสังคมวัฒนธรรมก็ยังปกคลุมเรื่องสิทธิของผู้หญิง
แม้จะบอกว่าเปิดแล้วแต่ในทางปฏิบัติไม่เป็นอย่างนั้น การได้เข้ามาท างานตรงนี้ก็เป็นโอกาสดีให้เราได้ทำอะไรหลายๆ
อย่าง แต่ถ้าหมดสมัยนี้ไปพี่ก็คิดว่าคงจะไม่สมัครอีก มีหลายเรื่องที่ทำให้รู้สึกว่าเราไม่ชอบ
ก่อนหน้ามาเป็น ส.อบต. พี่รู้สึกว่าพี่มีอำนาจมากกว่า พอมาเป็น ส.อบต.
กลายเป็นรู้สึกว่าอำนาจต่อรองเราลดลง (เฟย ศรีสมบัติ สัมภาษณ์เดือนพฤศจิกายน 2555)
เรื่องเล่าประสบการณ์การท างานการเมืองท้องถิ่นของเฟย ศรีสมบัติ
สะท้อนปัญหาอุปสรรคและการไม่ได้รับความเป็นธรรมของผู้หญิงชาติพันธุ์ในพื้นที่การเมืองท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน
เฟยทำให้เห็นว่าผู้หญิงที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่การเมืองต้องเผชิญกับการถูกสภาพแวดล้อมชายเป็นใหญ่กลืนกลายความเป็นตัวตนบางด้าน
ทำให้อำนาจในการต่อรองของตนเองลดลง เกิดความรู้สึกหวาดระแวง รู้สึกไม่ปลอดภัย
รู้สึกอึดอัดคับข้องใจ ต้องตกเป็นเหยื่อการคุกคามทางเพศ
และถูกตราหน้าว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี เป็นผู้หญิงที่ไม่ยึดประเพณีปฏิบัติของเมี่ยนที่ต้องไม่ออกมาเดินนำหน้าผู้ชาย
เฟยต้องต่อสู้กับมายาคติทางเพศที่แฝงฝังอยู่ในบริบทรอบตัวเธอ เพื่อแสดงให้เห็นว่าความเป็นผู้หญิงไม่ใช่ข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง
ผู้หญิงมีสิทธิในการใช้มุมมองของผู้หญิงในการออกแบบนโยบาย จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในท้องถิ่นได้
ข้อค้นพบและบทสรุปจากเรื่องเล่าประสบการณ์การเข้าถึงความยุติธรรมของเฟย โครงสร้างอำนาจแบบปิตาธิปไตยในสังคมเมี่ยนมีระบบของชนเผ่าจะกีดกันผู้หญิงออกจากพื้นที่ทางการเมือง
และเปิดพื้นที่ให้อำนาจในการปกครอง การตัดสินใจ การวางกฎกติกา รวมถึงปฏิบัติการในชีวิตประจำวันต่างๆ
ตกอยู่ในมือของผู้ชายเกือบเบ็ดเสร็จ ผู้ชายมีบทบาทในการเป็นผู้นำทั้งผู้นำหมู่บ้าน
ผู้นำในการประกอบพิธีกรรม ผู้อาวุโสประจำชนเผ่า
และเป็นตัวแทนของชุมชนในการติดต่อกับสังคมภายนอก ขณะที่ผู้หญิงถูกจำกัดบทบาทไว้เพียงในบ้าน
ไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกหรือ
ตัดสินใจในเรื่องใหญ่โตเกี่ยวกับความเป็นไปของสมาชิกในครอบครัวหรือในชุมชน
เมี่ยนให้ความสำคัญกับครอบครัวและเครือญาติเป็นอย่างมาก
เพราะเชื่อว่าครอบครัวเป็นพื้นที่แห่งการร้อยรัดสายสัมพันธ์ของสมาชิกเข้าไว้ด้วยกันและเป็นแหล่งสวัสดิการพื้นฐานที่ดีที่สุด
ผู้เป็นพ่อมีหน้าที่ในการปกครอง ดูแลสารทุกข์สุกดิบ ตัดสินความขัดแย้งของคนในบ้าน
และให้ความเป็นธรรม บ้านที่ไม่มีพ่อเป็นเหมือนบ้านที่ขาดผู้มีอำนาจคุมกฎ
เฟยและพี่ชายถูกกลั่นแกล้ง กีดกันไม่ให้มีสิทธิในทรัพย์สมบัติที่พึงได้ ถูกขับไล่
และประทับตราว่าเป็นพี่น้องที่กาลกิณีต่อวงศ์ตระกูล การไม่เป็นผู้ที่ยอมจำนนต่อสถานการณ์บีบคั้นและกดทับความเป็นคนของสองพี่น้อง
ผลักพวกเขาออกจากญาติใกล้และพาตัวเองเข้าหาอำนาจเหนือกว่าที่สามารถคุ้มครองพวกเขาได้
เช่น ทหาร ค่ายทหาร ปู่เล็ก เป็นต้นเฟยต่างจากผู้หญิงเมี่ยนทั่วไปตรงที่เธอใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับผู้ชายเสียเป็นส่วนใหญ่
เฟยได้รับการถ่ายทอดและซึมซับอุดมการณ์ความเป็นชายเข้าไว้ในตัวและฉวยใช้อุดมการณ์ความเป็นชายในการต่อสู้ต่อรองกับความไม่ยุติธรรมในชีวิตอยู่ตลอดเวลา
เช่น ความเข้มแข็ง อดทนอดกลั้น รักในเกียรติยศของวงศ์ตระกูล ศักดิ์ศรี
และความถูกต้องเป็นธรรม จะเห็นว่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในวัยเด็กและช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยรุ่นไปสู่วัยผู้ใหญ่
ได้กลายเป็นต้นทุนและเป็นเบ้าหลอมระบบคิดและสร้างตัวตนของผู้หญิงในเส้นทางการเมืองได้
การโหยหาความถูกต้องเป็นธรรมอันเป็นผลจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากครอบครัวเครือญาติ
เป็นแรงขับสำคัญที่ทำให้เฟยมีความต้องการกำหนดความเป็นไปของชีวิตตนเอง
เฟยเลือกขบถต่อ “ความเป็นผู้หญิงที่ดี”
ตามประเพณีปฏิบัติของเมี่ยนด้วยออกไปใช้ชีวิตนอกพื้นที่ “ความเป็นเมี่ยน”
ทว่าพื้นที่นอกชุมชนเมี่ยนอย่างพื้นที่ของสังคมไทยกลับซ้อนซ้ำกดทับความเป็นคนของเฟย
มองเฟยเป็นของ “ชาวเขา”
ที่มาพร้อมกับวาทกรรมสร้างภาพให้ชาวเขาเป็นต้นตอของภัยต่างๆ ทั้งในแง่ความมั่นคง
ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของผู้ก่อการร้าย ผู้อพยพ หญิงขายบริการ พวกปลูกฝิ่น
ไม่มีที่ดินทำกิน และในแง่ผลกระทบต่อธรรมชาติในฐานะที่ทำไร่เลื่อนลอยและตัดไม้ทำลายป่า
อคติทางชาติพันธุ์ที่สะสมมานานทำให้มองภาพของชาวเขาอย่างตายตัว
ในฐานะเป็นคนอื่นและเป็นภัยฝังลึกอยู่ในสังคมไทย ผลที่ตามมาคือชาวเขามักถูกกักกันต่างๆนานา
ทั้งในแง่ของสิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิในการตั้งถิ่นฐาน
และสิทธิในการจัดการทรัพยากร การไปทำงานเป็นแม่บ้านที่ฮ่องกงเปิดโอกาสให้เฟยได้มีปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายแรงงานชาติต่างๆ
ที่เข้ามาท างานในฮ่องกง เครือข่ายทางสังคมนี้เองที่เป็นตัวช่วยเสริมอำนาจในตัวเฟยให้มีมากขึ้นให้เฟยรู้จักการเรียกร้องสิทธิโดยใช้เครื่องมือทางกฎหมาย
รู้จักรูปแบบวิธีการในการต่อรองกับอำนาจ เช่นการรวมตัวเป็นเครือข่าย การเดินขบวน
การเข้าร่วมรณรงค์เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ต้องการขับเคลื่อนในโอกาสพิเศษต่างๆ เป็นต้น
เครือข่ายทางสังคมมีส่วนสำคัญที่ช่วยระดมทรัพยากรทำให้เฟยสามารถนำเงินไปสมทบกองผ้าป่าเข้าหมู่บ้านได้เป็นจำนวนมาก
สำหรับเฟยผ้าป่ากองแรกที่นำส่งไปยังหมู่บ้านมีความหมายต่อชีวิตเธอมาก
ผ้าป่าเปรียบได้กับ “ใบเบิกทาง” เป็นสัญลักษณ์แห่งการบทพิสูจน์ตัวตนของเธอต่อสมาชิกในหมู่บ้านว่า
เธอเป็นผู้หญิงที่พึ่งพาตนเองในทางเศรษฐกิจได้ และเป็นผู้หญิงที่ไม่ละทิ้งต่อชุมชน
การพึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงรู้สึกถึงการมีตัวตน
มีอำนาจ
มีความมั่นใจ มีความพร้อมหรือไม่กังวลใจต่อการเปิดรับและเรียนรู้ประสบการณ์
“นอกบ้าน” ได้มากกว่าผู้หญิงที่มีภาวะพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากสามี
และกลายเป็นต้นทุนต่อความสามารถของเฟยในการลงสมัครรับเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งในองค์การทางการเมืองในโอกาสต่อมาด้วยเพราะความสามารถในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงเชื่อมโยงสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการมีตัวตนและอำนาจของพวกเธอเอง
เรื่องราวของเฟยชี้ให้เห็นว่า กว่าที่ผู้หญิงจะก้าวข้าม “ความเป็นหญิง” ที่สังคมกำหนดเพื่อขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งผู้นำทางสังคมในมิติต่างๆ
ต้องเผชิญหน้ากับร่องรอยทัศนคติความเชื่อของสังคมชายเป็นใหญ่อยู่เสมอ
การเป็นผู้หญิงที่ผิดแบบแผนไปจากการเป็นเมียและแม่ตามที่วัฒนธรรมเมี่ยนกำหนดทำให้
เฟย ถูกกลไกทางสังคมลงโทษด้วยการประณาม ติฉินนินทา กล่าวร้ายในทางลบ
ส่งผลต่อสภาพจิตใจของเธอและครอบครัวเป็นอย่างมาก หากเฟยไม่มีทุนทางสังคมที่มากพอหรือจำนนต่อ
“ความเป็นหญิง” ตามจารีตย่อมไม่มีเฟยในทุกวันนี้ ชีวิตที่ผิดแบบแผนของเฟยได้ทำให้สังคมเมี่ยนตระหนักในคุณค่าของผู้หญิงเมี่ยนในอีกแง่มุมหนึ่ง
ทั้งยังเป็นตัวอย่างให้ผู้หญิงเมี่ยนคนอื่นๆในชุมชนเห็นว่าการละเว้นประเพณีปฏิบัติบางอย่างที่เป็นการเลือกปฏิบัติกับผู้หญิง
เช่น ห้ามออกนอกบ้าน ห้ามทำงานกับผู้ชาย ไม่ใช่เรื่องผิด และผู้หญิงมีสิทธิในการก
าหนดความเป็นไปของตนเองได้ ประสบการณ์ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในชีวิต
การได้รับการศึกษา อ่าน (ภาษาราชการ) ออกเขียน (ภาษาราชการ) ได้
เครือข่ายทางสังคมที่เฟยได้เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์
การได้รู้จักกับประเด็นว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และการได้รับการฝึกอบรมกฎหมายเป็นต้นทุนสำคัญที่เฟยใช้นำตัวเองเข้าหาอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรอย่างถูกต้องเป็นธรรมในพื้นที่การเมืองท้องถิ่น
เมื่อได้รับเลือกให้เป็น ส.อบต. อุปสรรคจากการทำงานการเมืองของเฟยสะท้อนให้เห็นความยากลำบากของผู้หญิงเมี่ยนในพื้นที่สาธารณะหรือการมีส่วนร่วมทางการเมืองว่า
ผู้หญิงต้องเผชิญกับปัญหาถูกสภาพแวดล้อมของผู้ชายกลืนกลายจนต้องสูญเสียความเป็นตัวตนไป
ทำให้ผู้หญิงรู้สึกขาดอำนาจในการต่อรอง รู้สึกหวาดระแวง ไม่ปลอดภัย ยิ่งหากมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับผู้นำในเวทีการเมืองด้วยแล้วยิ่งทำให้ผู้หญิงรู้สึกอึดอัด
คับข้องใจ จำเป็นต้องยอมรับการคอรัปชั่น
และผู้หญิงอาจตกเป็นเหยื่อการคุกคามทางเพศจากเพื่อนร่วมงานชาย จนในที่สุดอาจเป็นเหตุทำให้ผู้หญิงไม่อยากทำงานการเมืองท้องถิ่น
เมื่อเผชิญกับการกีดกันอย่างเป็นระบบจากถนนแห่งอำนาจแบบดั้งเดิม
เฟยไม่ได้ยอมให้กับความยากลำบากเหล่านี้ เฟยเลือกเสริมอำนาจให้กับตนเองและชุมชนผ่านทางโครงสร้างทางเลือก
เช่น ผันตัวเองไปทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน
เลือกใช้พื้นที่อย่างไม่เป็นทางการนอกภายนอกสภาฯ
ในการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาชุมชนแทน
ในท้ายที่สุดสำหรับเฟย “การเข้าถึงความยุติธรรม” เปรียบได้กับ
“การเข้าถึงความถูกต้อง” ดังที่เฟย กล่าวว่า “เมื่อมีความถูกต้อง
เมื่อนั้นความเป็นธรรมจะตามมา” ดังนั้น
สิ่งที่เฟยพยายามทะลุผ่านนานาอารมณ์ความรู้สึกและปรับเปลี่ยนตัวเองจากผู้ถูกกระทำมาเป็นผู้กระทำในแต่ละช่วงชีวิตของเธอจนกระทั่งเข้ามาเป็น
ส.อบต. (แม้จะเรียบเรียงได้มีกี่หน้ากระดาษ)
คือการต่อสู้ของผู้หญิงเมี่ยนและพยายามแสวงหาความถูกต้อง (จากญาติใกล้
จากอคติทางชาติพันธุ์และอคติต่อความเป็นผู้หญิง จากประเพณีปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
และจากรัฐ) มาตลอดชีวิต การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นอาจเพียงโอกาสหนึ่งที่เฟยจะได้นำความถูกต้องมาสู่ตนเองและกระจายไปยังคนอื่นๆ
ในฐานะพลเมืองที่มีเสรีภาพและเสมอภาค
ขอบคุณ
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. 2555. “เย้า”. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ, กรุงเทพฯ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. 2548.
“หลักกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปเกี่ยวกับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนฯ”. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอเดีย สแควร์, กรุงเทพฯ. ประสิทธิ์ ลีปรีชา ยรรยง ตระการธำรง และวิสุทธิ์
เหล็กสมบูรณ์.2547.เมี่ยน หลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง.สถาบันวิจัยสังคมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.ณัฏฐวี ทศรฐ และวีระพงศ์ มีสถาน. 2540. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์
เมี่ยน (เย้า). สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท.ทรงพันธ์ วรรณมาศ. 2552. “แม่ลายผ้าปักเมี่ยน (เย้า)
ในจังหวัดเชียงรายและพะเยา”,รายงานการวิจัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.
ขอบคุณ
สำนักงานการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.). 2553.
รายงานฉบับสมบูรณ์การ
ประมวลผลการประเมินเป้าหมายมาตรฐานการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบล
(อบต.) ขนาดเล็ก ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2556 จาก