กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีน

คุณChenHaiWenอยากจะทำหนังสือเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนจึงได้นำทีมช่างภาพมืออาชีพ14คนเดินทางไปถ่ายรูปทั่วประเทศจีนโดยโปรเจคนี้ใช้เวลานานถึง1ปีและทีมงานนี้ถ่ายรูปไปทั้งหมดรวมกันกว่า5.7ล้านรูปจากนั้นคุณHumbleได้นำข้อมูลมาแปลไว้ที่Pantipห้องLibraryในกระทู้http://goo.gl/G96XWtทั้งhttp://goo.gl/9QBwlqและเนื่องจากว่ากระทู้นั้นเก่ามากแล้วผมเลยเอามาโพสเก็บไว้ที่นี่ด้วยเผื่อว่ากระทู้
ต้นทางจะถูกลบหายไป

1. กลุ่มชาติพันธุ์ฮั่น Han
กลุ่มชาติพันธุ์ฮั่นถือว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทสจีนและในโลกประกอบด้วยประชากร 1,230,117,207 คนในจีนและในไต้หวัน ชาวฮั่นถือเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของหลายประเทศ ประกอบด้วย 92% ของประชากรจีน 98% ของประชากรไต้หวัน 72% ของประชากรสิงคโปร์ และ 20% ของประชากรโลก นอกจากนี้ยังมีชาวฮั่นอีกหลายสิบล้านคนที่เป็นชนกลุ่มน้อยในอีกหลายประเทศทั่วโลก ชาวฮั่นสืบเชื้อสายมาจากชาวหัวเซี่ยในแถบลุ่มน้ำฮวงโห และถือเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมจีน
กลุ่มชาติพันธุ์ฮั่น Han 

2. กลุ่มชาติพันธุ์จ้วง Zhuang
กลุ่มชาติพันธุ์จ้วงถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีประชากร16,178,811 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในดินแดนปกครองตนเองกวางสีจ้วง และบางส่วนในหยุนหนาน กวางตุ้ง กุ้ยโจว หูหนาน และเวียดนามเหนือ ชาวจ้วงเชื่อว่าสีบเชื้อสายมาจากชาว ไป่เยว่ หรือชาวเยว่ร้อยเผ่าในอดีต ภาษาจ้วงจัดอยู่ในกลุ่มภาษา ไท กระได
กลุ่มชาติพันธุ์จ้วง Zhuang 

3. กลุ่มชาติพันธุ์แมนจู Manchu
กลุ่มชาติพันธุ์แมนจูถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่อีกกลุ่มหนึ่ง มีประชากร 10,682,263 คน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนที่เรียกว่าแมนจูเรีย ประกอบด้วยมณฑลจี้หลิน เหลียวหนิงและเฮยหลงเจียง ชาวแมนจูถือเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ในอดีต เคยมีอาณาจักรต้าจิน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ชิงของจีน เนื่องจากว่าชาวแมนจูได้เข้ามาปกครองประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ชิงจนถึงช่วงการปฎิวัติซินไห่ ทำให้ชาวแมนจูได้ยอมรับวัฒนธรรมของชาวฮั่นและได้หลอมรวมกับชาวฮั่น และพูดภาษาจีน จนในปัจจุบันภาษาของชาวแมนจูใกล้สาบสูญเหลือคนพูดได้เพียงผู้สูงอายุในชนบทภาคเหนือของจีนและเหล่าผู้สนใจศึกษาเท่านั้น ชาวแมนจูเป็นกลุ่มชาติพันธุที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตดีที่สุดในประเทศจีนตามการสำรวจและเปรียบเทียบกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ
กลุ่มชาติพันธุ์แมนจู Manchu 

4. กลุ่มชาติพันธุ์หุย Hui
กลุ่มชาติพันธุ์หุยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่น่าสนใจเพราะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่แยกออกมาโดยใช้หลักเกณฑ์ของศาสนา ไม่ใช่เชื้อชาติหรือภาษาเหมือนกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ชาวหุยประกอบด้วยชาวมุสลิมทั้งหมดในประเทศจีนที่ไม่ได้รวมอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมอื่นๆ ในจำนวนนี้รวมทั้งชาวมุสลิมในไห่หนาน ชาวมุสลิมไป๋ และมุสลิมทิเบต ประกอบด้วยประชากรทั้งหมด 9,816,802 คนส่วนมากอาศัยอยู่ในดินแดนปกครองตนเองมณฑลหนิงเซีย กานซู่ ซิงไห่และซินเกียง นอกจากนี้ชาวหุยกระจายอยู่ทั่วประเทศในปักกิ่ง หยุนหนาน และที่อื่นๆ ชาวหุยพูดภาษาจีนและมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับชาวฮั่นเพียงแต่บางอย่างที่ปรับเปลี่ยนตามข้อบังคับของศาสนาอิสลาม
กลุ่มชาติพันธุ์หุย Hui 

5. กลุ่มชาติพันธุ์เมี้ยว Miao
กลุ่มชาติพันธุ์เมี้ยว หรือชาวเขาเผ่าม้ง แม้ว ในประเทศไทย ชาวเมี้ยวในประเทศจีนมีประชากรทั้งหมด 8,940,116 คน เกือบครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลกุ้ยโจวและที่เหลือในมณฑลหยุนหนาน หูหนาน เสฉวน กวางสี หูเป่ยและไห่หนาน และยังมีชาวเมี้ยวหรือแม้วอีกกว่าหนึ่งล้านห้าแสนคนในประเทศไทย ลาว เวียดนาม และผลจากสงครามทำให้มีชุมชนเมี้ยวกลุ่มใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสและออสเตรเลีย ชาวเมี้ยวพูดภาษาในตระกูลเมี้ยว เย้า ชาวเมี้ยวมีความโดดเด่นที่เครื่องแต่งกายและแคนอันเป็นเครื่องดนตรีประจำเผ่า
กลุ่มชาติพันธุ์เมี้ยว Miao 

6. กลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์  Uyghurs   维吾尔
กลุ่มชาติพันธุ์อุยเกอร์เป็นชาวมุสลิมกลุ่มใหญ่ในภาคตะวันตกของจีน มีประชากรทั้งสิ้น 8,399,393 จากประชากรชาวอุยกูร์ 11 ล้านคนทั่วโลกและเป็นชนกลุ่มใหญ่ในเขตปกครองตนเองมณฑลซินเกียง นอกจากนี้ยังมีชาวอุยกูร์ในเอเชียกลางและชุมชนชาวอุยกูร์ในเมืองใหญ่ๆทั่วโลกเช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ซิดนีย์ วอชิงตัน โตเกียว อิสตันบุลและมิวนิค ชาวอุยกูร์นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนหนี่และซูฟี ส่วนภาษาอุยกูร์เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลอัลตาอิก เนื่องจากศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากชาวฮั่น ทำให้บางครั้งเกิดการกระทบกระทั่งกับชาวฮั่นและมีการเรียกร้องเอกราชในนามของเตอร์กิสถานตะวันออก
กลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์  Uyghurs   维吾尔

7. กลุ่มชาติพันธุ์ถู่จีอา Tujia 土家
กลุ่มชาติพันธุ์ทู่เจี๋ยประกอบด้วยประชากร 8,028,133 คนอาศัยอยู่ในเขตภูเขาอู่หลิง พรมแดนระหว่งมณฑลหูหนาน หูเป่ย กุ้ยโจวและเทศบาลนครฉ่งชิ่ง ชาวทู่เจี๋ยสืบเชื้อสายมาจากชาวปาโบราณที่ก่อตั้งอาณาจักรปาในเขตนครฉ่งชิ่งเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว และอาณาจักรปาต่อมาก็ถูกทำลายลงโดยอาณาจักรวรรดิฉิน ชาวทู่เจี๋ยมีภาษาเป็นของตนเองแต่มีคนพูดได้แค่ประมาณ 70,000 คนจากประชากรทั้งหมด 8 ล้านคน ชาวทู่เจี๋ยส่วนมากสื่อสารด้วยภาษาจีนสำเนียงท้องถิ่นและวัยรุ่นก็นิยมพูดภาษาจีนมากกว่าภาษาทู่เจี๋ยเอง ชาวทู่เจี๋ยมีชื่อเสียงในเรื่องการร้องเพลงและการเต้น
กลุ่มชาติพันธุ์ถู่จีอา Tujia 土家

8. กลุ่มชาติพันธุ์ยี Yi
กลุ่มชาติพันธุ์ยีมีประชากร 7,762,286 คน 4.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในมณฑลหยุนหนาน 2.5 ล้านคนในตอนใต้ของมณฑลเสฉวน และอีกประมาณ 1 ล้านคนทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลกุ้ยโจว กลุ่มชาติพันธุ์ยีเป็นคำที่รัฐบาลจีนกำหนดขึ้นประกอบด้วย 6 เผ่าที่มีภาพูดแตกต่างกันอย่างชัดเจนและต่างเรียกตนเองแตกต่างกัน และไม่สามารถสื่อสารกันภายในกลุ่มชาติพันธุ์ได้ ดังนั้นยีจึงเป็นคำกลางเพื่อเชื่อมโยงกลุ่มเหล่านี้ นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าชาวยีสืบเชื้อสายมาจากชาวเชียงโบราณในภาคตะวันตกของจีน ภาษาของชาวยีอยู่ในตระกูลภาษาทิเบต พม่า และชาวยียังสามารถพูดภาษาจีนได้อีกด้วย ชาวยีส่วนมากนับถือผี พระพุทธศาสนา เต๋าและคริสต์
กลุ่มชาติพันธุ์ยี Yi 

9. กลุ่มชาติพันธุ์มองโกล Mongol 蒙古
กลุ่มชาติพันธุ์มองโกลประกอบด้วยประชากร 5,813,947 คน ส่วนมากเป็นผู้เลี้ยงปศุสัตว์ในเขตปกครองตนเองมณฑลมองโกเลียใน และมณฑลเหลียวหนิง เป็นที่น่าสนใจว่ามีชาวมองโกลในประเทศจีนมากกว่าในมองโกเลียซะอีก ชาวมองโกลนับถือศาสนาพุทธแบบทิเบต บุคคลในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพของชาวมองโกลก็คือ เจงกีสข่านหรือ เตมูจิน ผู้ที่รวบรวมชนเผ่ามองโกลเข้าด้วยกันและก่อตั้งราชวงศ์หยวนและกุบไล่ข่านที่แผ่ขยายอาณาจักรไปอย่างกว้างขวางจากฝั่งทะเลจีนจนถึงฝั่งทะเลดำในยุโรป
กลุ่มชาติพันธุ์มองโกล Mongol 蒙古

10. กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต Tibetan
กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบตประกอบด้วยประชากร 5,416,021 คนส่วนมากในดินแดนกครองตนเองทิเบต มณฑลซิงไห่ กานซู่ เสฉวนและหยุนนาน ชาวทิเบตเป็นชาวพุทธที่เคร่งครัด และพระพุทธศาสนานิกายตันตระของทิเบตก็เแยกออกเป็นนิกายหนึ่งชัดเจน บุคคลที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพของชาวทิเบตคือองค์ดาไล ลามะ ที่ลี้ภัยอยู่ในอินเดียซึ่งเป็นผู้นำการเรียกร้องเอกราชจากจีน
 กลุ่มชาติพันธุ์ทิเบต Tibetan 

11. กลุ่มชาติพันธุ์ปูใหย่ Buyei 布依
น่าจะอ่านว่าปูใหย่หรือผู้ใหญ่นะครับ กลุ่มชาติพันธุ์ปูใหย่ประกอบด้วยประชากร 2,971,460 คน อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูงของมณฑลกุ้ยโจว รวมทั้งหยุนหนาน และเสฉวน แม้ว่ารัฐบาลจีนจะแยกว่าเป็นอีกกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง แต่ชาวปูใหย่ก็ยังถือว่าตนเองเป็นคนจ้วง ชาวปูใหย่พูดภาษาในตระกูลภาษาไทและมีความใกล้เคียงกับภาษาจ้วง และนับถือผีและพระพุทธศาสนา
กลุ่มชาติพันธุ์ปูใหย่ Buyei 布依

12. กลุ่มชาติพันธุ์ตง Dong
กลุ่มชาติพันธุ์ตงประกอบด้วยประชากร 2,960,293 คนอาศัยอยู่ในเขตภูเขาของ กุ้ยโจว หูหนานและกวางสี ตงเป็นชื่อที่ทางรัฐบาลจีนเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ชาวตงเรียกตนเองว่าขาม ภาษาของชาวขามหรือตงเป็นภาษาในกลุ่มกระได ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาไท กระได ชาวตงมีชื่อเสียงในด้านการสร้างสะพานที่มีหลังคาครอบที่เรียกว่าสะพานลมและฝน และนอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงเรื่องการขับร้องเพลงประสานเสียงอีกด้วย ซึ่งการขับร้องเพลงประสานเสียงของชาวตงยังได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกให้เป็นมรดกที่จับต้องไม่ได้อีกด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ตง Dong 

13. กลุ่มชาติพันธุ์เย้า Yao
กลุ่มชาติพันธุ์เย้าประกอบด้วยประชากร 2,637,421 คน อาศัยอยู่ในภาคใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีประชากรอีกหลายแสนคนในเวียดนาม ลาวและไทย ภาษาชาวเย้ามีหลายภาษาแตกต่างไปตามท้องถิ่น มีทั้งตระกูลภาษาเมี้ยว เย้า ตระกูลภาษาไท กระได และภาษาจีน
กลุ่มชาติพันธุ์เย้า Yao 

14. กลุ่มชาติพันธุ์เกาหลี Korean
กลุ่มชาติพันธุ์เกาหลีมีประชากร1,923,842 คนรวมผู้ที่มีเชื้อสายเกาหลีและชาวเกาหลีที่ทำงานในจีน เนื่องจากการติดต่อสัมพันธุ์มายาวนานตลอดประวัติศาสตร์จีนและเกาหลี ทำให้มีชาวเกาหลีส่วนหนึ่งในจีนโดยเฉพาทางตะวันออกเฉียงเหนือที่มีชายแดนติดเกาหลีเหนือ ชาวเกาหลีในจีนส่วนมากสืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพหนีภัยแล้งในเกาหลีช่วงปี 1860 ในสมัยราชวงศ์ชิงและชาวเกาหลีที่อพยพหนีอำนาจการปกครองของญี่ปุ่นในช่วงก่อนสงครามโลก พื้นที่ที่มีชาวเกาหลีอาศัยอยุ่หนาแน่นที่สุดคือในอำเภอปกครองตนเองหยันเปียนที่มีชาวเกาหลีกว่า 800,000 คน ชาวเกาหลีถือว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีเป็นอันดับสองรองจากชาวแมนจู
กลุ่มชาติพันธุ์เกาหลี Korean 

15. กลุ่มชาติพันธุ์ไป๋ Bai
กลุ่มชาติพันธุ์ไป๋มีประชากร 1,858,063 คนเกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในมณฑลหยุนหนาน และ 80% อาศัยอยู่ในเขตเมืองต้าลี่ ชาวไป๋นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานและยังนับถือเทพประจำหมู่บ้านและกษัตริน่านเจ้าอีกด้วย ภาษาของชาวไป๋อยู่ในตระกูลสาขาทิเบต พม่า ของตระกูลภาษาทิเบต จีน
กลุ่มชาติพันธุ์ไป๋ Bai 

16. กลุ่มชาติพันธุ์ฮาหนี Hani 哈尼
กลุ่มชาติพันธุ์ฮาหนีมีประชากร 1,439,673 คนอาศัยอยู่ในมณฑลหยุนหนานรอบๆเทือกเขาอ้ายลาวระหว่างแม่น้ำโขงและแม่น้ำแดง ตามตำ นานพื้นบ้านชาวฮาหนีสืบเชื้อสายมาจากชาวหยีและแยกออกมาจากชาวหนีเมื่อ 90 ชั่วคนที่แล้ว ภาษาของชาวฮาหนี่เป็นสาขาหนึ่งของภาษาหยีซึ่งอยู่ในตระกูลทิเบต พม่า ชาวฮาหนี่นับถือบรรพบุรุษ และบางส่วนนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
กลุ่มชาติพันธุ์ฮาหนี Hani 哈尼

17. กลุ่มชาติพันธุ์คาซัก Kazakh 萨克
กลุ่มชาติพันธุ์คาซักมีประชากรประมาณ 1,420,458 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในดินแดนปกครองตนเองซินเกียงอุยกูร์ และบางส่วนอาศัยอยู่ในมณฑลชิงไห่และกันซู่ ชาวคาซักส่วนมากเป็นเกษตรกรและเลี้ยงสัตว์ในเขตทุ่งหญ้า นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาของชาวคาซักเป็นภาษาในตระกูลภาษาอัลตาอิกสายภาษาเตอร์ก
กลุ่มชาติพันธุ์คาซัก Kazakh 萨克

18. กลุ่มชาติพันธุ์ลี Li
กลุ่มชาติพันธุ์ลีมีประชากรประมาณ 1,247,814 คน เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในเกาะไหหลำทางใต้ของจีน นอกจากนี้ยังพบชาวลีอยู่ในหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ในเขตของแระเทศฟิลิปปินส์

ชาวเกาะพื้นเมืองในทะเลลูซอน อันได้แก่ชาวฟิลิปปินส์ ก็รวมอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ลีด้วย ชาวลีพูดภาษาไหลซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาไท กระได และนับถือผีร่วมกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท นอกจากนี้การทอผ้าของชาวลียังได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกให้เป็นมรดกอันจับต้องมิได้อีกด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ลี Li 



19. กลุ่มชาติพันธุ์ไต Dai
กลุ่มชาติพันธุ์ไตหรือไทลื้อมีประชากรประมาณ 1,158,989 คน นอกจากนี้ยังมีชาวไทลื้ออีกกว่าสามแสนคนในประเทศไทยและลาว ชาวไทลื้อมีวัฒนธรรมและภาษาพูดที่ใกล้เคียงกับคนไทยโดยเฉพาะคนไทยในภาคเหนือมากที่สุดจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆของจีน ชาวไตลื้อในจีนส่วนมากอาศัยอยู่ในอำเภอปกครองตนเองซื่อชวงปั่นน่า หรือสิบสองปันนาที่มีเมืองเหลืองชื่อว่าจิ่งหงหรือว่าเชียงรุ้ง ชาวไทลื้อนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเช่นเดียวกับคนไทยและก็มีชื่อเสียงเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์เช่นเดียวกับคนไทยด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ไต Dai 

20. กลุ่มชาติพันธุ์เช She
กลุ่มชาติพันธุ์เชมีประชากรประมาณ 709,592 คน ชาวเซอเป็นชนกลุ่มน้อบที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลฟูเจี้ยนของจีน นอกจาหนี้ยังพบชุมชนชาวเชในมณฑลใกล้เคียงอีกด้วยเช่น เจ้อเจียง เจียงซี อันฮุยและกว้างตุ้ง ภาษาดั้งเดิมของชาวเชอยู่ในตระกูลภาษาม้ง เมี่ยน แต่ชาวเซอส่วนมากพูดภาษาจีนแคะ ชาวเซอนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและเต๋า
กลุ่มชาติพันธุ์เช She 

21. กลุ่มชาติพันธุ์ลีสู่ Lisu 傈僳
กลุ่มชาติพันธุ์ลีสู่ หรือลีซอมีประชากรประมาณ 634,912 คนอาศัยอยู่ทางตะวันตกของมณฑลหยุนหนานของจีนติดกับชายแดนพม่า ในพม่าชาวลีซอถูกจัดอยู่ในกลุ่มหนึ่งของชาวกลุ่มน้อยคะฉิ่น มีประชากรประมาณ 350,000 คนและในประเทศไทยชาวเขาเผ่าลีซอประมาณ 55,000 คนในภาคเหนือ ชาวลีซอนับถือผีและบางส่วนนับถือศาสนาคริสต์ ภาษาของชาวลีซอก็เป็นสาขาหนึ่งของภาษาตระกูล จีน ทิเบต
กลุ่มชาติพันธุ์ลีสู่ Lisu 傈僳

22. กลุ่มชาติพันธุ์กะเหล่า Gelao 仡佬
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหล่ามีประชากรประมาณ 579,357 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว และบางส่วนในมณฑลกวางสี หยุนหนานและเสฉวน ภาษากะเหล่าจัดอยู่อยู่ในตระกูลภาษาไท กระได แต่ชาวกะเหล่าส่วนมากกันด้วยภาษาาจีนเนื่องด้วยภาษาถิ่นของชาวกะเหล่ามีความแตกต่างกันมาก ชาวกะเหล่านับถือพระพุทธศาสนามหายานและลัทธิเต๋า
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหล่า Gelao 仡佬

23. กลุ่มชาติพันธุ์ตงเซียง Dongxiang 东乡
กลุ่มชาติพันธุ์ตงเซียงมีประชากรประมาณ 513,805 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในอำเภอปกครองตนเองหลินเซีย หุย ในมณฑลกันซู่ ชาวตงเซียงนับถือศาสนาอิสลามนิกาบซุนหนี่ ชาวตงเซียงมีความใกล้ชิดกับชาวมองโกลมาก จนนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าชาวตงเชียงสืบเชื้อสายมาจากชาวมองโกลและเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามเมื่อประมาณศตวรรษที่ 13 ภาษาตงเซียงเป็นสาขาหนึ่งของภาษามองโกล ชาวตงเซียงส่วนมากทำการเกษตรและเป็นกลุ่มชาติพีนธุ์ที่ยากจนและไม่รู้หนังสือที่สุดในประเทศจีนจากการจัดอันดับ ชาวตงเซียงโดยเฉลี่ยได้รับการศึกษาในโรงเรียนเพียง 1.1 ปีเท่านั้น
กลุ่มชาติพันธุ์ตงเซียง Dongxiang 东乡

24. กลุ่มชาติพันธุ์เกาชานหรือชนพื้นเมืองในไต้หวัน Gaoshan 高山
กลุ่มชาติพันธุ์เกาชานหรือชนพื้นเมืองไต้หวัน มีประชากรประมาณ 458,000 คน อาศัยอยู่ในเขตภูเขาบนเกาะไต้หวัน ชนพื้นเมืองไต้หวันเป็นชาวออสโตรนีเชี่ยนที่มีความใกล้ชิดทางด้านเชื้อชาติและภาษาร่วมกับชาวออสโตรนีเชี่ยนอื่นๆ ได้แก่ชาวฟิลิปปินส์ มาเลย์ อินโดนีเซีย มาดากาสการ์ ชาวจาม และชาวเกาะแปซิฟิกอื่น อันได้แก่ชาวเมารีในนิวซีแลนด์ และชาวราปานุยในเกาะอีสเตอร์ ไต้หวันถือว่าเป็นต้นกำเนิดของตระกูลภาษาออสโตรนีเชี่ยนเพราะว่ามีความหลากหลายของภาษามากที่สุดบนเกาะนี้ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าภาษาเหล่านี้บางส่วนก็ได้สูญพันธุ์ไปและบางส่วนก็อยู่ในภาวะเสี่ยงเนื่องจากการเข้ามาของชาวฮั่นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 17 ทำให้เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมและผลของความขัดแย้ง ปัจจุบันชาวพื้นเมืองไต้หวันได้เปิดรับโลกาภิวัฒน์มากขึ้น และมีการฟื้นฟูความภูมิใจในชาติพันธุ์ของตนเองและกลายเป็นส่วนหนึ่งในการท่องเที่ยวไต้หวัน
กลุ่มชาติพันธุ์เกาชานหรือชนพื้นเมืองในไต้หวัน Gaoshan 高山

25. กลุ่มชาติพันธุ์ละหุ Lahu 拉祜
กลุ่มชาติพันธุ์ละหุมีประชากรประมาณ 453,705 คน อาศัยอยู่ในมณฑลหยุนหนาน ชาวละหุคือกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับชาวเขาเผ่ามูเซอในประเทศไทย ในประเทศไทยมีชาวละหุอยู่ประมาณ 100,000 คนอาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ นอกจากนี้ยังมีชาวละหุอยู่ในประเทศพม่า ลาวและเวียดนาม ภาษาของชาวละหุอยู่ในตระกูลภาษาจีน ทิเบต
กลุ่มชาติพันธุ์ละหุ Lahu 拉祜

26. กลุ่มชาติพันธุ์สุย Sui
กลุ่มชาติพันธุ์สุยมีประชากรประมาณ 406,902 คน อาศัยอยู่ในมณฑลกวางสี กุ้ยโจวและหยุนหนาน ชาวสุยเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากชาวเยว่ที่อาตั้งถิ่นฐานอยู่ชายฝั่งตะวันออกของจีนในอดีตก่อนสมัยราชวงศ์ฮั่น คำว่าสุยแปลว่าน้ำซึ่งชาวสุยได้ใช้คำนี้ระหว่างยุคราชวงศ์หมิง ชาวสุยพูดภาษาสุยซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาไท กระได
 กลุ่มชาติพันธุ์สุย Sui 

27. กลุ่มชาติพันธุ์ว้า Va
กลุ่มชาติพันธุ์ว้ามีประชากรประมาณ396,610 คน อาศัยอยู่ทางตะวันตกของมณฑลหยุนหนานของจีน นอกจากนี้ยังมีชาวว้าอีกกลุ่มใหญ่อาศัยอยู่ในพม่า มีประชากรประมาณ 800,000 คน ชาวว้าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มออสโตรเอเชียติกหรือกลุ่ม มอญ เขมร
 กลุ่มชาติพันธุ์ว้า Va 

28. กลุ่มชาติพันธุ์นาคีหรือนาซี Nakhi 纳西
กลุ่มชาติพันธุ์นาคีหรือนาซีมีประชากรประมาณ 308,839 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตเมืองลี่เจียงในมณฑลหยุนหนาน และบางส่วนในมณฑบเสฉวน ชาวนาซีเชื่อว่าสีบเชื้อสายมาจากชาวเชียงซึ่งเป็นชาวเผ่าเร่ร่อนในที่ราบสูงทิเบต ต่อมาชาวนาซีได้อพยพลงมาทางใต้ตามแนวแม่น้ำนู่เจียงหรือสาละวินและปักหลักอยู่ที่ไป๋ชาและลี่เจียง ปัจจุบันลี่เจียงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก และเป็นสถานที่่ท่องเที่ยวสำคัญของจีน ด้วยทิวทัศน์ที่สวยงามและอาคารไม้แบบโบราณ ชาวนาซีมีภาษาเขียนเป็นของตนเองที่เรียกว่า ตงปา นอกจากนี้ตงปายังหมายถึงศาสนาของชาวนาซีอีกด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์นาคีหรือนาซี Nakhi 纳西

29. กลุ่มชาติพันธุ์เชียง Qiang
กลุ่มชาติพันธุ์เชียงมีประชากรประมาณ 306,072 คน อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน ชาวเชียงในปัจุบันเป็นชนเผ่าเล็กๆในจีน แต่ในอดีตนั้นชาวเชียงนั้นถือได้ว่าเป็นเผ่าโบราณสามารถสืบประวัติจนถึงสมัยราชวงศ์ชางเลยทีเดียว ในอดีตชาวเชียงถือว่าเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่เข้มแข็งกลุ่มหนึ่ง เชื่อกันว่าลูกหลานของชาวเชียงโบราณในปัจจุบันก็คือชาวเชียง ชาวฮั่นบางส่วน ส่วนหนึ่งก็เป็นชาวทิเบต และชนเผ่าอีกหลายเผ่าในภาคตะวันตกของจีน ภาษาเชียงเป็นภาษาในตระกูลภาษาจีน ทิเบต ชาวเชียงนับถือเทพหลายองค์ที่มีความเชื่อแนบแน่นกับหินขาวศักสิมธิ์
กลุ่มชาติพันธุ์เชียง Qiang 

30. กลุ่มชาติพันธุ์ถู่ Tu
กลุ่มชาติพันธุ์ถู่หรือมองโกลขาวมีประชากรประมาณ 241,198 คน อาศัยอยู่ในมณฑลกันซู่และชิงไห่ทางตะวันตกของจีน ถู่เป็นชื่อที่ทางการจีนเรียกขานกลุ่มชาติพันธุ์แต่ชาวตูเรียกตัวเองว่าชาวมองโกลขาวหรือ Chaghan Monguor ชาวถุ่ตามเชื้อชาติแล้วคือชาวเซียนเป่ยที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์จีน แต่ชาวเซียนเป่ยโบราณนั้นได้หลอมรวมกลายเป็นชาวฮี่นและชนเผ่าอื่นๆ เหลือเพียงชาวถู่กลุ่มนี้ที่ยังรักษาเอกลักษณ์ไว้ได้ เนื่อวจากบรรพบุรุษของชาวถู่นำโดย Tuyuhu เป็นผู้นำชาวเซียนเป่ยจำนวนหนึ่งอพยพมายังดินแดนกันซู่และชิงไห่ และคำว่า Tuyuhu ก็เป็นชื่อเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ต่อมา และต่อมาก็เพี้ยนเป็น Tuhu และ Tu ในที่สุด ชาวถู่นั้นพูดภาษาในตระกูลภาษาอัลตาอิกเช่นเดียวกับภาษามองโกล และนับถือพระพุทธศาสนานิกายตันตระหมวกเหลืองอย่างทิเบต ร่วมกับลัทธิเต๋า
กลุ่มชาติพันธุ์ถู่ Tu 

31. กลุ่มชาติพันธุ์มูเลา Mulao 仫佬
กลุ่มชาติพันธุ์มูเหลาหรือมูหลามมีประชากรประมาณ 207,352 คน อาศัยอยู่ในมณฑลกวางสีทางใต้ของจีน เป็นที่เชื่อกันว่าชาวมู่หลามสืบเชื้อสายมาจากชาวหลิงหรือเหลียวที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้ในอดีตตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน ชาวมู่หลามพูดภาษามู่หลามซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในตระกูลไท กระได ชาวมู่หลามนับถือพระพุทธศาสนาร่วมกับสัทธิเต๋าและการบูชาผี
กลุ่มชาติพันธุ์มูเลา Mulao 仫佬

32. กลุ่มชาติพันธุ์ซีเป๋อ Xibe 锡伯
กลุ่มชาติพันธุ์ซีเป๋อมีประชากรประมาณ 188,824 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมณฑลซินเกียงของจีน ภาษาซีเป๋อเป็นภาษาในกลุ่มภาษาอัลตาอิกแต่มีผู้พูดได้เพียง 30,000 คนเท่านั้นเพราะชาวซีเป๋อพูดภาษาจีนกลางเป็นภาษาแรก การแต่งกายจะคล้ายกับชาวแมนจูแต่ในปัจจุบันจะแต่งเฉพาะในโอกาสสำคัญเท่านั้น
กลุ่มชาติพันธุ์ซีเป๋อ Xibe 锡伯

33. กลุ่มชาติพันธุ์คีจีซ Kyrgyz 尔克孜
กลุ่มชาติพันธุ์คิจิซมีประชากรประมาณ 160,823 คนส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตปกค่องตนเองซินเกียงทางภาคตะวันตกของจีน นอกจากนี้ชาวคิจิซยังอาศัยอยู่ในหลายประเทศในแถบเอเชียกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศคิจิซสถานที่ชาวคิจิซเป็นประชากรส่วนใหญ่ คำว่าคีจิซแปลว่าอมตะหรือไม่สูญสลาย ชาวคีจิซส่วนมากเป็นชาวมุสลิมนิกายซุนหนี่แต่บางส่วนก็นับถือพระพุทธศาสนาแบบทิเบต ภาษาคิจิซก็เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาอัลตาอิก
กลุ่มชาติพันธุ์คีจีซ Kyrgyz 尔克孜

34. กลุ่มชาติพันธุ์ตาเออร์ Daur 达斡
กลุ่มชาติพันธุ์ตาเออร์มีประชากรประมาณ 132,394 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในและบางส่วนในเขตปกครองตนเองซินเกียงซึ่งอพยพไปในช่วงราชวงศ์ชิง หลักฐานทาง DNA พิสูจน์ว่าชาวตาเออร์นั้นสืบเชื้อสายมาจากชาว Khitan ในประวัติศาสตร์จีน นอกจากนี้ภาษาของชาวตาเออร์ยังมีร่องรอยของภาษา Khitan หลงเหลืออยู่
กลุ่มชาติพันธุ์ตาเออร์ Daur 达斡

35. กลุ่มชาติพันธุ์จิงป่อ Jingpo
กลุ่มชาติพันธุ์จิงป่อมีประชากรประมาณ 132,143 คน อาศัยอยู่ในมณฑลหยุนหนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ชาวจิงป่อหรือชาวคะฉิ่นในรัฐคะฉิ่นของพม่าและชาวสิงป่อในอินเดียคือคนกลุ่มเดียวกันแต่เป็นชนกลุ่มน้อยในแต่ละประเทศและมีชื่อเรียกต่างกัน แต่ประชากรส่วนมากอยู่ในประเทศพม่า ชาวจิงป่อนั้นดั้งเดิมอาศัยอยู่ทางตะวันออกของที่ราบสูงทิเบตที่ต่อมาได้อพยพลงมาทางใต้และมีชื่อเรียกต่างกันในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ ภาษาของชาวจิงป่อมีห้าภาษาใหญ่ได้แก่ Jingpo proper, Zaiwa, Maru, Lashi, and Azi ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาจีน ทิเบต ชาวจิงป่อนับถือพระพุทธศาสนา ร่วมกับการนับถือผีและบางส่วนนับถือศาสนาคริสต์
 กลุ่มชาติพันธุ์จิงป่อ Jingpo 

36. กลุ่มชาติพันธุ์เหมาหนาน Maonan 毛南
กลุ่มชาติพันธุ์เมาหนานมีประชากรประมาณ 107,166 คน อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเขตปกครองตนเองกวางสี ภาษาของชาวเหมานานเป็นภาษาในตระกูลภาษาไท กระได สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับชาวเหมานานก็คือ กว่า 80% ของชาวเหมานานมียามสกุลเดียวกัน คือนามสกุลถัน (Tan) ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากชาวหูหนานกลุ่มหนึ่งได้มาอพยพมาแต่งงานกับหญิงชาวเหมานาน และนอกจากนี้หมู่บ้านของชาวเหมานานไม่มีหมู่บ้านไหนที่มีประชากรเกิน 100 คนเลย
กลุ่มชาติพันธุ์เหมาหนาน Maonan 毛南

37. กลุ่มชาติพันธุ์ซาลาร์ Salar 撒拉
กลุ่มชาติพันธุ์ซาลาร์มีประชากรประมาณ 104,503 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในมณฑลซิงไห่และกันซู่และบางส่วนในดินแดนปกครองตนเองซินเกียง บรรพบุรุษของชาวซาลาร์คือชาวOghuz Turks ที่อพยพมาจากแถบประเทศอิหร่านในปัจจุบัน ชาวซาลาร์เป็นชาวมุสลิมและแต่งกายเหมือนกับชาวมุสลิมอื่นๆตามกฎของศาสนา ภาษาของชาวซาลาร์ก็เป็นภาษาหนึ่งของตระกูลภาษาอัลตาอิก
กลุ่มชาติพันธุ์ซาลาร์ Salar 撒拉

38. กลุ่มชาติพันธุ์ปลางหรือปะหล่อง Blang 布朗
กลุ่มชาติพันธุ์ปลางหรือปะหล่องมีประชากรประมาณ 91,882 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในมณฑลหยุนหนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ชาวปะหล่องเชื่อว่าสืบเชิ้อสายมาจากชาวเผ่าโบราณที่เรียกว่าผู่(Pu) ที่ในอดีตที่จีนเรียกว่า ไป๋ผู่ (Baipu)หรือชาวผู่ร้อยเผ่า ชาวปะหล่องนับถือผีร่วมกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ภาษาปะหล่องเป็นภาษาในตระกูลเอเชียติกสายปะหล่อง ว้า
กลุ่มชาติพันธุ์ปลางหรือปะหล่อง Blang 布朗

39. กลุ่มชาติพันธุ์ทาจิก Tajik 塔吉克
กลุ่มชาติพันธุ์ทาจิกมีประชากรประมาณ 41,028 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในมณฑลซินเกียงทางตะวันตกของจีน แม้ว่าจะถูกเรียกว่าชาวทาจิกแต่ชาวทาจิกในจีนก็พูดภาษาอีกภาษาหนึ่งต่างหากจาชาวทาจิกในทาจิกิสถาน ชาวทาจิกในจีนมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าปาริมี (parimi) ซึ่งประกอบด้วยสามเผ่าที่พูดภาษาSarikoli, Shugni และ Wakhi ซึ่งเป็นภาษาในตระกูลอินโด ยูโรเปี้ยน สายภาษาเปอร์เซียร์ ชาวทาจิกนับถือศาสนาอิสลาม
กลุ่มชาติพันธุ์ทาจิก Tajik 塔吉克

40. กลุ่มชาติพันธุ์อาชาง Achang 阿昌
กลุ่มชาติพันธุ์อาชางมีประชากรประมาณ 33,936 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในมณฑลหยุนหนานโดยเฉพาะอำเภอปกครองตนเองเตอหง ชาวอาชางถือว่าเป็นชนกลุ่มแรกๆที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในมณฑลหยุนหนาน ภาษาของชาวอาชางเป็นภาษาในตระกูลภาษาจีน ทิเบต ชาวอาชางนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ลัทธิเต๋าร่วมกับการนับถือผีและบรรพบุรุษ
กลุ่มชาติพันธุ์อาชาง Achang 阿昌

41. กลุ่มชาติพันธุ์ปูมี Pumi 普米
กลุ่มชาติพันธุ์ปูมีมีประชากรประมาณ 33,600 คน ทั้งหมดอาศัยอยู่ในมณฑลหยุนหนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ชาวปูมีมีประวัติการอพยพที่สามารถสืบค้นได้บาวนานที่สุดในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆของจีน ตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสกาลที่ที่ราบสูงทิเบต ซิงไห่ อพยพมายังเสฉวนและท้ายที่สุดมายังมณฑลหยุนหนาน ชาวปูมีนับถือพระพุทธศาสนานิกายตันตระแบบทิเบต ภาษาปูมีเป็นภาษาในตระกูลภาษาจีน ทิเบต
กลุ่มชาติพันธุ์ปูมี Pumi 普米

42. กลุ่มชาติพันธุ์อีเวงกิ Ewenki 鄂温克
กลุ่มชาติพันธุ์อีเวงกิมีประชากรประมาณ 30,505 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของดินแดนปกครองตนเองมองโกเลียในที่มีอากาศหนาวเย็น บางส่วนถูกอพยพไปอยู่ที่ซินกียงในสมัยราชวงศ์ชิงเพื่อรักษาพรมแดน ชาวอีเวงกิมีความเชี่ยวชาญในการล่าสัตว์ ตกปลาและหาของป่า ภาษาอิเวงกิเป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาอัลตาอิก
กลุ่มชาติพันธุ์อีเวงกิ Ewenki 鄂温克

43. กลุ่มชาติพันธุ์นู่ Nu
กลุ่มชาติพันธุ์นู่มีประชากรประมาณ 28,759 คน ทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตมณฑลหยุนหนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ชาวนู่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาและหุบเขาสูงในเขตแม่น้ำนู่เจียงหรือชื่อแม่น้ำสาละวินในไทยและพม่า ชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์จึงมาจากชื่อแม่น้ำนู่ ภาษาของชาวนู่เป็นภาษาในตระกูลภาษาจีน ทิเบต ชาวนู่นับถือพระพุทธศาสนานิกายตันตระแบบทิเบตร่วมกับการนับถือผีในธรรมชาติ
กลุ่มชาติพันธุ์นู่ Nu 

44. กลุ่มชาติพันธุ์จิง Jing
กลุ่มชาติพันธุ์จิงมีประชากรประมาณ 22,517 คน เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่บนเกาะสามเกาะนอกชายฝั่งของดินแดนปกครองตนเองกวางสีจ้วง กลุ่มชาติพันธุ์จิงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันกับชาวเวียดนามในประเทศเวียดนามปัจจุบันแต่ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์นั้ไม่รวมชาวเวียดนามที่ทำงานและนักศึกษาเวียดนามในประเทศจีน บรรพบุรุษของชาวจิงอพยพมาจากเวียดนามเมื่อคริสตศตวรรษที่ 16 และตั้งถิ่นฐานบนหมู่เกาะนอกชายฝั่ง ดังนั้นอาชีพหลักของชาวจิงก็คือการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชาวจิงนับถือพระพุทธศาสนามหายานร่วมกัวความเชื่อในลัทธิเต๋า ชาวจิงพูดภาษาเวียดนามซึ่งเป็นภาษาในตระกูงภาษาเอเชียติก และนอกจากนี้ชาวจิงยังพูดภาษากวางตุ้ง และแมนดารินเพื่อการติดต่อสื่อสารและการค้า
กลุ่มชาติพันธุ์จิง Jing 

45. กลุ่มชาติพันธุ์จิโน Jino
กลุ่มชาติพันธุ์จิโนมีประชากรประมาณ 22,000 คน เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในเมืองเล็กๆชื่อ Jinoluoke ในเขตจิ่งหง อำเภอปกครองตนเองไตสิบสองปีนนา ทางตอนใต้ของมณฑลหยุนหนาน ภาษาของชาวจิโนเป็นภาษาในตระกูลภาษาจีน ทิเบต ซึ่งมีความใกล้เคียงกับภาษาของชาวหยีและพม่า ชาวจิโนนับถือผีในธรรมชาติและพระพุทธศาสนา
 กลุ่มชาติพันธุ์จิโน Jino 

46. กลุ่มชาติพันธุ์เตออัง De ang 德昂
กลุ่มชาติพันธุ์เตออังมีประชากรประมาณ 17,935 คน ทั้งหมดอาศัยกระจัดกระจายในมณฑลหยุนหนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทั้งบนพื้นราบร่วมกับคนไทลื้อและชาวฮั่นหรือบนภูเขาร่วมกับชาวจิงป่อ ลีซอ และว้า ชาวเตออังเป็นชื่อที่ทางการจีนใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุืนี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง ก่อนหน้านั้นชาวเตออัง ปลาง และว้าถูกเรียกรวมๆกันว่าผู่ (Pu) ชาวเตออังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันกับชาวปะหล่องในประเทศไทยและพม่า ภาษาปะหล่องเป็นภาษาในตระกูลออสโตร เอเชียติก ในสายภาษากะสิและขมุ ชาวปะหล่องนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
กลุ่มชาติพันธุ์เตออัง De ang 德昂族

47. กลุ่มชาติพันธุ์โปหนาน Bonan 保安
กลุ่มชาติพันธุ์โปหนานมีประชากรประมาณ 16,505 คน อาศัยอยู่ในมณฑลกันซู่ทางตะวันตกของจีน ชาวโปหนานสืบเชื้อสายมาจากทหารมองโกลที่ถูกส่งไปประจำการที่ซิงไห่ในสมัยราชวงศ์หยวนและหมิง ต่อมาบรรพบุรุษของชาวโบหนานส่วนหนึ่งได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามจนถึงปัจจุบัน ส่วนชาวโปหนานอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังนับถือพระพุทธศาสนาแบบทิเบตถูกรวมอยู่ในกลุ่มชาติพันุ์ตู ชาวโปหนานมีวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ใกล้เคียงกับชาวตงเชียงและหุย ภาษาโปหนานเป็นภาษาในตระกูลภาษาอัลตาอิกสายภาษามองโกลแต่ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีน ส่วยภาษาโปหนานของกลุ่มชาติพันธุ์ตูจะได้รับอิทธิพลจากภาษาทิเบต
กลุ่มชาติพันธุ์โปหนาน Bonan 保安

48. กลุ่มชาติพันธุ์รัสเซีย Russia 罗斯
กลุ่มชาติพันธุ์รัสเชียมีประชากรประมาณ 15,609 คน ส่วนมากอาศัยอยู่รอบๆเเขตทือกเขาอัลไต เมืองอุรุมฉี ในเขตปกครองตนเองซินเกียงอุยกูร์ และในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน บางส่วนในมณฑลเฮยหลงเจียงและเมืองฮาร์บิน นอกจากนี้ในปักกิ่งยังมีเขตเล็กๆ ที่เรียกว่า Russiantown อีกด้วยที่เป็นที่รวมของชาวรัสเซียในปักกิ่ง ชาวรัสเซียเริ่มเข้ามาในจีนในสมัยราชวงศ์ชิง และเริ่มเข้ามามากในปี 1897 ที่เป็นปีเริ่มสร้างทางรถไฟสายตะวันออกไกล และหลังจากการปฎิวัติในรัสเซีย แต่หลังจาการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวรัสเซียส่วนมากก็อพยพออกนอกประเทศไปยังออสเตรเลีย เอเชียอาคเนย์และกลับรัซเซีย เหลือเพียงประชากรกลุ่มเล็กๆเท่านั้น ชาวรัสเซียนับถือศาสนาคริสท์นิกายออโทดอกซ์
กลุ่มชาติพันธุ์รัสเซีย Russia 罗斯

49. กลุ่มชาติพันธุ์ยูเกอร์ Yugur 裕固
กลุ่มชาติพันธุ์ยูเกอร์มีประชากรประมาณ 13,719 คน อาศัยอยู่ในมณฑลกันซู่ทางตะวันตกของจีน ชาวยูเกอร์สืบเชิ้อสายมาจากชายอุยกูร์ที่อพยพมาจากมองโกเลียหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรอุยกูร์ในปี ค.ศ. 840 เนื่องด้วยเหตุผลทางด้านประวัติศาสตร์ทำให้ชาวยุเกอร์มีภาษาพูดที่ต่างกัน ชาวยูเกอร์ประมาณ 4,600 คนในทางตะวันตกพูดภาษายูเกอร์ตะวันตกซึ่งเป็นภาษาในตระกูลภาษาอัลตาอิก สายภาษาเติร์ก ชาวยูเกอร์ประมาณ 2,800 คนทางตะวันออกพูดภาษายูเกอร์ตะวันออก ซึ่งเป็นภาษาในตระกูลภาษาอัลตาอิกแต่เป็นสายภาษามองโกล ส่วนชาวยูเกอร์ที่เหลือพูดภาษาจีนกลาง ชาวยูเกอร์นับถือพระพุทธศาสนานิกายตันตระแบบทิเบต
กลุ่มชาติพันธุ์ยูเกอร์ Yugur 裕固

50. กลุ่มชาติพันธุ์อุซเบก Uzbeks 乌孜别克
กลุ่มชาติพันธุ์อุซเบกมีประชากรประมาณ 12,370 คน อาศัยกระจัดกระจายในเขตปกครองตนเองซินเกียงอุยกูร์ทางตะวันตกของจีน ส่วนมากชาวอุซเบกอาศัยอยู่ในเขตเมือง ชาวอุซเบกเริ่มเข้ามาในจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน พ่อค้าชาวอุซเบกเดินทางจากเอเชียกลางมายังซินเกียงตามเส้นทางสายไหมเพื่อมาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า อิาทิ ผ้าไหม ใบชา เครื่องกระเบื้อง ขนสัตว์ ต่อจากนั้นก็ได้ตั้งถิ่นฐานตามแนวเส้นทางสายไหม ภาษาอุซเบกเป็นภาษาในตระกูลภาษาอัลตาอิกสายภาษาเตอร์ก ชาวอุซเบกนับถือศาสนาอิสลาม
 กลุ่มชาติพันธุ์อุซเบก Uzbeks 乌孜别克

51. กลุ่มชาติพันธุ์มอนปา Monba 门巴
กลุ่มชาติพันธุ์มอนปามีประชากรประมาณ 8,923 คนอาศัยอยู่ทางตะวันออกของดินแดนปกครองตนเองทิเบต ชาวมอนปามีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมและภาษากับชาวทิเบต ประชากรชาวมอนปาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐอรุนาจัลประเทศในเขตอินเดีย ชาวมอนปาในจีนและอินเดียเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันและเคยมีอาณาจักรเป็นของตนเองชื่อ Monyul ที่ขึ้นต่อทิเบต แต่หลังจากการเข้ามาของจักรวรรดินิยมอังกฤษ อังกฤษได้ทำสนธิสัญญากับทิเบตและได้ลากเส้นที่เรียกว่า Mcmahon line เพื่อเป้นพรมแดนระหว่างทิเบตของจีนกับอินเดียของอังกฤษ ทำให้ดินแดนของชาวมอนปาถูกแบ่งออกส่วน ในจีนและอินเดียในปัจจุบันซึ่งปัจจุบันจีนก็ยังไม่ยอมรับเส้นเขตแดนนี้ ชาวมอนปามีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดกับทิเบตทั้งในด้านภาษาปละศาสนา
กลุ่มชาติพันธุ์มอนปา Monba 门巴

52. กลุ่มชาติพันธุ์โอโรเชน Oroqen 伦春
กลุ่มชาติพันธุ์โอโรเชนมีประชากรประมาณ 8,196 คน อาศัยอยู่ในดินแดนปกครองตนเองมองโกเลีย และมณฑลเฮยหลงเจียง ชาวโอเรเชนดั้งเดิมเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเลี้ยงกวางเรนเดียร์ โอโรเชนก็ยังแปลว่าผู้เลี้ยงกวางเรนเดียร์อีกด้วย แต่ในปัจจุบันชาวโอโรเชนส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนให้เลิกล่าสัตว์และเป็นเจ้าหน้าที่อุทธยานเพื่อการอนุรักษ์ ภาษาของชาวโอโรเชนเป็นภาษาในตระกูลอัลตาอิก ในกลุ่มทังกุสเหนือ และมีความคล้ายคลึงกับภาษาอีเวงกิอย่างมาก
กลุ่มชาติพันธุ์โอโรเชน Oroqen 伦春

53. กลุ่มชาติพันธุ์เตอรุง Derung
กลุ่มชาติพันธุ์เตอรุงหรือตรุงมีประชากรประมาณ 7,426 คนอาศัยอยู่ในมณฑลหยุนหนานในหุบเขาตูหลง (Tulong) ตามประวัติศาสตร์ในสมัยราชวงศ์ถังชาวเตอรุงอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรน่านเจ้าและต้าลี่ ต่อมาในสมัยหยวนถึงชิง ชาวเตอรุงต่อใต้การปกครองของหัวหน้าท้องถิ่นชาวนาซี ภาษาเตอรุงเป็นภาษาในกลุ่มทิเบต พม่า ชาวเตอรุงอยู่กันเป็นเผ่า มีจำนวนทั้งสิ้น 15 เผ่า ชาวเตอรุงนับถือผีในธรรมชาติและบางส่วนเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์
กลุ่มชาติพันธุ์เตอรุง Derung 

54. กลุ่มชาติพันธุ์ตาตาร์ Tatars 塔塔
กลุ่มชาติพันธุ์ตาตาร๋มีประชากรประมาณ 4,890 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในดินแดนปกครองตนเองซินเกียง นอกจากนี้ยังมีชาวตาตาร์อีกกว่าสิบล้านคนในมองโกเลียไปจนถึงยุโรปและเอเชียกลาง ชาวตาร์ตาร์ส่วนมากพูดภาษาตาร์ตาร์และภาษารัสเซีย และนับถือศาสนาต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่เช่นในรัสเซียจะนับถือศาสนาคริสต์ออโทดอกซ์ และในเอเชียกลางนับถือศาสนาอิสลาม
 กลุ่มชาติพันธุ์ตาตาร์ Tatars 塔塔

55. กลุ่มชาติพันธุ์เหอเจิ้น Hezhen 赫哲
กลุ่มชาติพันธุ์เหอเจิ้นมีประชากรประมาณ 4,640 คนในฝั่งประเทศจีนและเป็นกลุ่มเดียวกันกับชาวนาไน (Nanai) ในฝั่งรัสเซีย ในจีนชาวเหอเจิ้นอาศัยอยู่ในมณฑลเฮยหลงเจียงทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนในแถบลุ่มน้ำอามูร์หรือเฮยหลง ชาวเหอเจิ้นเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์และตกปลา ในอดีตภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นในยุคแมนจูกัว ชาวเหอเจ้นเกือบหมดไปจากประเทศจีนด้วยประชากรเพียง 300 คนในปี 1949 แต่หลังจากสงครามประชากรก็ค่อยๆฟื้นตัวอย่างช้าๆ
กลุ่มชาติพันธุ์เหอเจิ้น Hezhen 赫哲

56. กลุ่มชาติพันธุ์โลปา Lhoba 珞巴
กลุ่มชาติพันธุ์โลปามีประชากรประมาณ 2,965 คน เป็นกลุ่มชาติพันธุืที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีชาวโลปาอีกจำนวนประมาณเท่ากันในเขตประเทศอินเดียในรัฐอรุนาจัลประเทศ ชาวโลปาในประเทศจีนอาศัยอยู่ทางตะวันออกของดินแดนปกครองตนเองทิเบต ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และหาของป่า
กลุ่มชาติพันธุ์โลปา Lhoba 珞巴