ความเป็นมาของอิ้วเมี่ยน


ความเป็นมาของเมี่ยน
เมี่ยน หรือ เย้า ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์ ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คือ อยู่ในตระกูลจีนธิเบต บรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตง
ถิง แถบแม่น้ำแยงซี
ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่
ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ซึ่ง เหยา ซี เหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น จุดเด่นของชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) บ้านปางค่าใต้ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้แก่ พาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก (ปัจจุบันในพื้นที่โครงการหลวงมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา)และ
บ้านปางกิ่วตำบลวาวีอำเภอแม่สรวย และบ้านห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


ภาษาเมี่ยน

ภาษาของเมี่ยนจัดอยู่ในภาษาตระกุลจีนธิเบต สาขาแม้ว-เย้า ภาษาพูดของเมี่ยนพัฒนาจากกลุ่มภาษาหนึ่งของชาวหมาน และแพร่กระจายไปสู่เขตต่างๆ ตามท้องถิ่นที่มีชาวเมี่ยนอพยพไปถึง ภาษาเมี่ยนได้กระจายไปทั่วเขตมณฑลกวางสี กวางตุ้ง กุยจิ๋ว ฮูหนาน จากการติดต่อกลับชนเผ่าอื่นๆ เป็นระยะเวลานาน จึงทำให้ภาษาในปัจจุบันผ่านการพัฒณากลายเป็นภาษาถิ่นย่อย 3 ภาษา คือ ภาษาเมี่ยน ภาษาปูนู และภาษาลักจา สำหรับภาษาเขียนของเมี่ยน มักจะมีความเห็นโดยทั่วไปว่าชาวเมี่ยนมีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน จึงได้ยืมภาษาฮั่นมาใช้ ชาวเมี่ยนที่รู้ภาษามีไม่มากนัก แต่ภาษาฮั่นก็ยังมี
บทบาท และอิทธิพลต่อชนชาติเมี่ยนมาก
ชาวเมี่ยนมีวิธีการใช้ตัวเขียนภาษาฮั่นเป็นของตัวเอง ตัวเขียนนี้แตกต่างกันกับตัวหนังสือฮั่นแบบมาตรฐาน เพราะชาวเมี่ยนได้คิดสร้างตัวหนังสือไว้ใช้เองโดยดัดแปลงจากของฮั่น ทำให้ได้ภาษาเขียนใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะผสมระหว่างภาษาเมี่ยนกับภาษาฮั่น คือ มีรูปแบบการเขียนแบบกู้สูจื้อ ตามท้องถิ่นของชาวเมี่ยน และรูปแบบตัวหนังสือฮั่นในอักษรฮั่น ซึ่งเป็นตัวเดียวกันในอักษรเมี่ยนจะเขียนคนละอย่างกัน แต่อักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้มีจำนวนไม่มากและใช้เขียนข้อความให้สมบูรณ์ไม่ได้ ต้องใช้ปนกับตัวหนังสือฮั่น คำศัพท์ใน
ภาษาเมี่ยนจะอ่านเป็นสำเนียงชาวเมี่ยน โดยเฉพาะภาษาเมี่ยนในประเทศไทยคล้ายกับภาษาจีน ถิ่นกวางตุ้ง ยิ่งเฉพาะบทสวดในพิธีเลี้ยงผีจะมีสำนวนดังกล่าวชัดเจนมาก

วิถีชีวิต และลักษณะบ้านเรือน

วิถีชิวิตด้านการละเล่นไม้โกงกาง (ม่าเกะเฮ้า)
วิถีชิวิตด้านการละเล่นไม้โกงกาง (ม่าเกะเฮ้า)โครงสร้างทางสังคม
ชุมชนของเมี่ยนในอดีตนั้นพึ่งตนเองค่อนข้างสูง ทั้งในด้านการดำรงชีวิต และการจัดการภายในชุมชน จะมีตำแหน่งฝ่ายต่างๆ ที่มีความสำคัญ และเอื้อต่อการจัดการในชุมชน ครอบครัวของเมี่ยนเป็นครอบครัวที่ขยาย มีสมาชิกในครอบครัวมาก เพราะถือว่าเป็นแรงงานสำคัญ หัวหน้าครอบครัว คือ ผู้ชายอาวุโสสูงสุด อาจเป็นปู่ หรือพ่อ โดยมีบุตรชายคนโตเป็นผู้สืบสกุลคนต่อไป

เมื่อมีการแต่งงานฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายเสียค่าสินสอดและค่าใช้จ่ายต่างๆผู้หญิงเมี่ยนจะออกจากตระกูลเดิมของตนโดยเลิกใช้แซ่เดิมเปลี่ยนมานับถือผีและใช้แซ่ของสามีและไปอยู่บ้านสามีด้วยแต่มีข้อยกเว้นเช่นผู้ชายไม่มีทรัพย์มากพอที่จะจ่ายค่าสินสอดรวมทั้งค่าเลี้ยงแขกจึงยอมไปอยู่กับฝ่ายหญิงแทนอาจเป็นเวลา15-20ปีจึงจะนำภรรยาไปอยู่ด้วยได้หรือในกรณีที่ฝ่ายหญิงจะต้องดูแลพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะต้องจ่ายค่าทรัพย์เป็นจำนวนมากแก่ฝ่ายชายเพื่อที่จะฝ่ายชายมาอยู่ร่วมครัวเรือนเพราะถือว่าเป็นแรงงานสำคัญเพิ่มขึ้นและฝ่ายชายจะต้องใช้ตระกูลของฝ่ายหญิงเมื่อมีลูกชายลูกชายจะต้องใช้สกุลของ
แม่จากนั้นจะกลับสู่ระบบการสืบตระกูลของฝ่ายชายดังเดิม

วิถีชิวิตด้านการละเล่น

ในชีวิตประจำวันของเมี่ยน การละเล่นที่แสดงออกถึงความรื่นเริงตามประเพณี และเทศกาลต่างๆ กล่าวได้ว่าในปัจจุบันแทบจะไม่มีโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะการละเล่นในวัยผู้ใหญ่หรือวัยหนุ่มสาว ส่วนการละเล่นของเด็กๆ มีเพียงไม่กี่อย่าง เช่น การเล่นไล่จับกัน ซึ่งเล่นรวมกันทั้งเด็กชายและหญิง การเล่นลูกข่าง การเดินไม้โกงกาง เมี่ยนไม่มีการละเล่นตามประเพณีประจำเทศกาลที่มีรูปแบบชัดเจน โดยเฉพาะการละ
เล่นของเมี่ยน มักเป็นการละเล่นที่อาศัยเล่นในโอกาสของงานพิธีกรรมต่างๆ และก็มักจะเป็นพิธีแต่งงานกับวันปีใหม่เท่านั้น ที่สามารถแสดงการละเล่นได้อย่างสนุกสนานเต็มที่ การละเล่นของเมี่ยน ได้แก่
หนังสติ๊ก (ถางกง): ทำมาจากไม้ เมี่ยนจะนำไม้ประมาณเท่ากับแขนที่ปลายแยกออกจากกัน นำมาแต่งให้สวยและพอกับมือจับ เอาหนังยางมามัดให้สามารถดึงแล้วยิงได้ วิธีการเล่น นำก้อนหินมาวางตรงที่เป็นยาง ดึงแล้วปล่อยใช่เล่นยิงแข่งกัน

ปืนไม้ไผ้ (พ้าง พ้าง): เป็นของเล่นที่เด็กนิยมเล่นกันมาก วิธีการทำ คือ เอาไม้ไผ่ลำใหญ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร มาทำเป็นกระบอกปืน และเหลาไม้อีกอันมาใช้สำหรับเป็นตัวยิง จะนำผลของต้นไม้ชนิดหนึ่งมาเป็นกระสุนในการเล่น เมี่ยนเรียกว่าพ้าง พ้างเปี้ยว
กระบอกสูบน้ำ (เฮ้าดงแฟะ): เป็นการละเล่นอีกอย่างหนึ่งที่ทำมาจากไม้ไผ่ ใช้ไม้ไผ่ที่ค่อนข้างแก่ทำเป็นตัวกระบอก และทำที่สูบโดยการตัดรองเท้าแตะเก่าๆ หรือเอายางมามัดเป็นวงกลมเสีบบกับที่สูบ การเล่นจะใช้กระบอกสูบน้ำขึ้นมาแล้วก็ดันน้ำออกใส่กับเพื่อนๆ ที่เล่นด้วย
จะเล่นในช่วงฤดูร้อน

ไม้โกงกาง (ม่าเกะเฮ้า): ไม้โกงกางทำมาจากไม้ไผ่ ซึ่งจะมีความสูงประมาณ 2 เมตร ตรงขาเหยียบจะสูงขึ้นมาจากพื้นประมาณ 50 ซม. หรือจะสูงกว่านี้ก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคน ซึ่งเป็นการละเล่นที่ถือว่าสนุกสนานมากในวัยเด็ก สามารถเล่นได้ทุกฤดูกาล วิธีการเล่น คือ ขึ้นไปเหยียบแล้วก็วิ่งแข่งกัน
ขาหยั่งเชื่อก (ม่าเกะฮาง): เป็นขาหยั่งที่ทำมาจากเชือก การละเล่นก็จะนำไม้ไผ่มาตัดเหลือไว้แค่ข้อต่อที่กั้นระหว่างป้องเท่านั้น เจาะรูแล้วนำเชือกสอดทั้ง 2 ข้าง การเล่นก็เหมือนกับขาหยั่งธรรมดาเพียงแค่ใช้ขาเหนีบที่เชือกเท่านั้นเอง

ลูกข่าง (ตะโหลย): การละเล่นลูกข่างเป็นการละเล่นที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเป็นการละเล่นของผู้ชาย โดยเมื่อถึงเวลาที่เว้นว่างจากการทำไร่ทำสวน ผู้ชายจะออกจากบ้านตั้งแต่เช้า เพื่อจะไปตัดไม้เนื้อแข็งสำหรับมาทำเป็นลูกข่าง เมื่อกลับมาถึงบ้านก็จะเริ่มทำลูกข่างโดยเหลาปลายไม้ให้แหลมๆ บางคนจะใส่เหล็กตรงปลาย เพื่อให้ลูกข่างหมุนได้นาน จากนั้นก็จะมาเล่นกัน โดยแบ่งเป็นสองฝ่ายๆ ละกี่คนก็ได้
ลูกแก้ว (ปู้สี่): ลูกแก้วนี้ถือว่าเป็นของเล่นอีกอย่างหนึ่งของเด็กเมี่ยน เมื่อถึงช่วงฤดูกาลหนึ่ง เด็กเมี่ยนก็จะเปลี่ยนของเล่นไปตามฤดูกาลนั้น การเล่นลูกแก้วนี้ก็ถือว่าเป็นอีกอย่างหนึ่งของการละเล่น การเล่น
ลูกแก้วนี้จะนำลูกแก้วมาตีแข่งกันโดยใช้มือเล่น จะมีหลุมอยู่หลุมหนึ่งเพื่อการเล่น

ก้านกล้วย (น้อมจิวแฝด): จะนำก้านกล้วยมาตัดใบทิ้ง ตัดก้านให้เป็นแฉกๆ ให้ตั้งขึ้นหลายๆ อัน แล้วใช้มือปัดลงเร็วๆ ก็จะมีเสียงเกิดขึ้นมาอย่างไพเราะ การเล่นชนิดนี้เป็นการละเล่นที่มีความปลอดภัยมากที่สุด เด็กเล็กๆ จะนิยมเล่นมาก

ลักษณะบ้านเรือน

ชาวเมี่ยนนิยมสร้างบ้านที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000-1,500 เมตร ปัจจุบันชาวเมี่ยนบางกลุ่มอาศัยอยู่พื้นที่ราบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการประกอบอาชีพ และการปกครองของทางราชการ บ้านของเมี่ยนมักหันหลังสู่เนินเขา หากอยู่พื้นราบมักหันหน้าออกสู่ถนน ผังบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลูกคร่อมดินมีห้องนอนแบ่งแยกย่อยเป็นหลายๆ ห้อง ภายในบ้าน พ่อแม่แยกห้องให้ลูกสาวเมื่อเห็นว่า
ลูกสาวเริ่มเป็นสาวแล้ว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเลือกคู่ของหญิงสาวตามประเพณีการเที่ยวสาว มีห้องครัวแยกไปอีกห้องหนึ่ง และมีบริเวณห้องใหญ่เป็นที่โล่งมีแคร่ หรือเตียงไว้นั่งเล่น หรือสำหรับแขกมุมใดมุมหนึ่งของห้อง ในบ้านไม่มีหน้าต่าง แต่มีประตูเข้าออกหลายทาง ประตูที่สำคัญที่สุด คือประตูผี หรือประตูใหญ่ เป็นประตูที่ใช้ติดต่อกับวิญญาณ หรือแสดงการเพิ่ม หรือลดสมาชิกของตระกูล เมื่อมีพิธีศพหรือแต่งงานจะต้องใช้ประตูนี้เป็นทางเข้าและออก
เวลาปกติ ทุกคนสามารถเดินเข้าออกทางนี้ได้ ประตูจะตรงกันข้ามกับหิ้งผี หรือเมี้ยนเตีย ก่อนสร้างบ้านต้องเอาดวงเกิดของหัวหน้าครอบครัว ไปดูว่าประตูผีนี้จะหันหน้าไปทางทิศใด ก็จะตั้งบ้านตามทางที่สอดคล้องกับดวงของผู้นำครอบครัว ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย เมื่อผู้ชายเมี่ยนแต่งงานจะนิยมนำภรรยาของตนมาอยู่
กับฝ่ายพ่อแม่ของตนเอง

ผู้อาวุโสฝ่ายชายจะเป็นผู้นำครอบครัวและมีอำนาจสูงสุดในบ้าน ยกเว้นเฉพาะในเรื่องงานครัว ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิง ส่วนในเรื่องอื่นๆ แล้วผู้อาวุโสจะเป็นผู้ตัดสิน แต่ก่อนการตัดสินใจมักจะมีการปรึกษาหารือกับสมาชิกในบ้าน คือบุตรชายคนโต และภรรยาก่อน ส่วนการรักษาพยาบาล ดูแลบุตร หรือเจ็บป่วยเล็กน้อยของสมาชิก สตรีเมี่ยนจะมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรมากกว่าผู้ชาย และปลูกสมุนไพรไว้ใช้เอง ผู้หญิงเมี่ยนจะทำงานหนัก พอมีเวลาว่างก็ปักผ้าสำหรับใช้เอง หรือเป็นรายได้พิเศษ จึงมักจะไม่ค่อยเห็นผู้หญิงเมี่ย
นว่างเลย เมี่ยนให้ความนับถือ และสืบเชื้อสายทางฝ่าย โดยลูกจะใช้แซ่ตามพ่อ และวิญญาณบรรพษุรุษของพ่อชาวเมี่ยน มีอิสระในการเลือกคู่ครอง นิยมที่จะแต่งงานกับคนในกลุ่มชาย และหญิงที่ใช้แซ่เดียวกัน แต่อยู่คนละกลุ่มเครือญาติย่อยสามารถแต่งงานได้


ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ (เจี๋ย เซียง เหฮียง)


พิธีฉลองปีใหม่ของเมี่ยนจะจัดเป็นประจำทุกๆ ปี หลังจากปีเก่าได้ผ่านพ้นไปแล้ว เช่นเดียวกับชนเผ่ากลุ่มอื่นๆ ทั่วไป แต่เนื่องจากเผ่าเมี่ยนใช้วิธีนับวัน เดือน ปี แบบจีน ดังนั้นวันฉลองปีใหม่จึงเริ่มพร้อมกันกับชาวจีน คือ วันตรุษจีน ภาษาเมี่ยนเรียกว่า เจี๋ยฮยั๋ง ก่อนที่จะถึงพิธี เจี๋ยงฮยั๋ง นี้ ชาวบ้านแต่ละครัวเรือน จะต้องเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นทั้งของใช้ส่วนตัว และของใช้ในครัวเรือนให้เรียบร้อยก่อน
เพราะเมื่อถึงวันขึ้นปีใหม่แล้ว จะมีกฏข้อห้ามหลายอย่างที่เผ่าเมี่ยน ยึดถือและปฏิบัติกันต่อๆ กันมา
วันขึ้นปีใหม่นี้ ญาติพี่น้องของแต่ละครอบครัว ซึ่งแต่งงานแยกครอบครัวออกไปอยู่ที่อื่น ก็จะพากันกลับมาเยี่ยมพ่อแม่ และญาติพี่น้องของตนเอง ซึ่งเป็นการพบปะสังสรรค์ และทำพิธีบวงสรวงบรรพบุรุษร่วมกัน (เสียงเมี้ยน) พิธีนี้จะเริ่มวันที่ 30 ซึ่งถือว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ และเป็นการแสดงความขอบคุณแก่วิญญาณ บรรพบุรุษที่ได้คุ้มครองดูแลเรา ในรอบปีที่ผ่านมาด้วยดีหรือบางครอบครัวที่มีการบนบานเอาไว้ก็จะมา ทำพิธีแก้บน และเซ่นไหว้กันในวันนี้

ประเพณีเจี๋ยเจียบเฝย หรือ เชียดหาเจียบเฝย (วันสาร์ทจีน)
ตรงกับวันที่ 14 – 15 เดือน 7 ของจีน วันเชียดหาเจียบเฝยของเมี่ยนจะมี 2 วัน คือ วันที่ 14 หรือเรียกว่า "เจียบเฝย" และวันที่ 15 เรียกว่า "เจียบหือ" ก่อนถึงเชียดหาเจียบเฝย 1 วัน คือวันที่ 13 หรือที่เรียกกันว่า "เจียบฟาม" ชาวบ้านจะเตรียมของใช้สำหรับทำพิธี เช่น กระดาษเงิน กระดาษทอง และหาฟืนมามาเก็บไว้มากๆ เพราะว่าในวันทำพิธีนี้ห้ามไปทำไร่ และเก็บฟืน ส่วนคนที่ไปนอนค้างคืนไนไร่ก็จะทยอยกันเดินทางกลับบ้านในวันนี้ นอกจากนี้ยังทำขนมที่เรียกกันว่า "เจียบเฝยยั้ว"
วันที่ 14 หรือ เจียบเฝยนี้ เชื่อกันว่าเป็นวันของคน ชาวบ้านจะไม่ไปไร่เข้าป่าล่าสัตว์ ไม่ทำงานใดๆ วันนี้จะมีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามความ
เชื่อที่มีมาแต่โบราณ เพราะเป็นที่เทพเจ้า เทพธิดา วิญญาณบรรพบุรุษเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ มีการทำบุญกันทุกบ้านเรือน มีการขออภัยโทษแก่ดวงวิญญาณต่างๆ ให้เป็นอิสระ ลูกหลานจะต้องมีการทำพิธีบวงสรวง เผากระดาษเงิน กระดาษทองส่งไปให้วิญญาณบรรพบุรุษได้ใช้จ่าย วันที่ 15 วิญญาณบรรพบุรุษจะได้คุ้มครองดูแลลูกหลาน

วันที่ 15 หรือ "เชียดหาเจียบหือ" หรือเรียกอีกอย่างว่า "เมี้ยน ป้าย เหย" เชื่อกันว่าเป็นวันของผีจะมีการปลดปล่อยผีทุกตัวตน เพื่อให้มารับประทานอาหารที่ผู้คนทำพิธีให้ วันนี้ชาวบ้านจะอยู่กับบ้านไม่ให้ออกไปไหน ห้ามคนเข้าออกหมู่บ้าน ห้ามเด็ดใบไม้ใบตองทั้งสิ้น
เพราะเชื่อว่าวิญญาณจะใช้ใบไม้ใบตองเหล่านี้ห่อของกลับไปเมืองวิญญาณ จะมีการพูดว่าใบไม้ 1 ใบ เป็นที่อยู่อาศัยของวิญญาณ 1 ตัว เมี่ยนจึงไม่เก็บใบไม้ต่างๆ ในวันนี้ ในวันนี้ก็เป็นอีกวันที่ชาวเมี่ยนไม่ไปทำไร่นา เพราะดวงวิญญาณต่างๆ ออกเดินทางกลับบ้านเมืองของตน เมี่ยนเชื่อว่าถ้าออกไปไหนมาไหนละก็อาจจะชนถูก และเหยียบถูกโดยที่เราไม่รู้ และอาจทำให้เราป่วยเมื่อเราไปไปทำถูกดวงวิญญาณเหล่านั้น

วันที่ 16 ก็จะเริ่มปฏิบัติงานตามปกติ เพราะเชื่อว่าวิญญาณที่ถูกปล่อย
มานั้น ถูกเรียกกลับไปหมดแล้ว ดวงวิญญาณไม่สามารถมารบกวนเราได้แล้ว ดวงวิญญาณจะถูกเรียกกลับแล้ว ก็ต้องไปอยู่ตามที่ต่างๆ ที่ตนอยู่ เมี่ยนจะทำพิธีเจี๋ยเจียบเฝยอย่างนี้เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ดวงวิญญาณได้มารับอาหารไปกินใช้ในแต่ละปี และให้ดวงวิญญาณมาช่วยคุ้มครองครอบครัว ตลอดกระทั้งหมู่บ้านของชาวเมี่ยน
ประเพณีการบวช (กว๋าตัง)คำว่า "กว๋า ตัง" ในภาษาเมี่ยนมีความหมายว่าแขวนตะเกียง ซึ่งเป็นการทำบุญเพื่อให้เกิดความสว่างขึ้น และเมี่ยนเองก็จะถือว่าผู้ที่ผ่านพิธีนี้แล้ว จะมีตะเกียง 3 ดวง พิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเต๋า เป็นพิธีที่ทำเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ถือเป็นการสร้างบุญ
บารมีให้กับตนเอง ทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ และเป็นผู้สืบสกุล ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า พิธีกรรมนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีเพียงแต่คำบอกเล่าจากการสันนิษฐานของผู้อาวุโสว่า พิธีกว๋าตัง นี้มีมานานมากแล้ว คงจะเป็น "ฟ่ามชิงฮู่ง" เป็นผู้บัญญัติให้ชาวเมี่ยนทำพิธีนี้ เมื่อประมาณ 2361 ปีมาแล้ว เพราะ ฟ่ามชิงฮู่ง เป็นผู้สร้างโลกวิญญาณและโลกของคน ฟ่ามชิงฮู่ง จึงบอกให้ทำพิธีกว่าตัง เพื่อช่วยเหลือคนดีที่ตายไปให้ได้ขึ้นสวรรค์ หรือไปอยู่กับบรรพบุรุษของตนเอง จะได้ไม่ตกลงไปในนรกที่ยากลำบาก พิธีนี้เป็นพิธีบวชพิธีแรก
ซึ่งจะทำให้กับผู้ชายเมี่ยน โดยไม่จำกัดอายุ ในประเพณีของเมี่ยน โดยเฉพาะผู้ชายถ้าจะเป็นคนที่สมบูรณ์จะ

การแต่งกายของเมี่ยน

ชาวเมี่ยนมีชื่อเสียงในเรื่องการตีเครื่องเงิน ทั้งนี้เพราะเมี่ยนนิยมใช้เครื่องประดับที่เป็นเงินเช่นเดียวกับชาวชนเผ่ากลุ่มอื่นๆ และรูปแบบเครื่องประดับแต่ล่ะชิ้น เป็นงานฝีมือปราณีต เมื่อมีงานประเพณีผู้หญิงเมี่ยนจะประดับเครื่องเงินกันอย่างเต็มที่การตัดเย็บการปักลายและการใช้สีในการปักลายเครื่องใช้ต่างๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีบวช (กว๋าตัง) และพิธีแต่งงานเช่น ผ้าต้มผาเป็นผ้าคลุมวางทับโครงไว้บนศีรษะของเจ้าสาวในพิธี
แต่งงานแบบใหญ่ ฯลฯ แต่ที่เมี่ยนนิยมปักลายมีผ้าห่อเด็กสะพายหลัง [ซองปุ๋ย] และถุงใส่เงิน [ย่านบั่ว] และสิ่งที่เมี่ยนนำมาตกแต่งคือ การถักเส้นด้าย คล้ายดิ้นใช้สำหรับติดปลายชายเสื้อผ้าการใช้ผ้าตัดปะเป็นวิธีการอันเก่าแก่ของเมี่ยนที่ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนส่วนใหญ่เมี่ยนที่พันหัวแบบหัวแหลม (ก่องเปลวผาน) จะนิยมการตัดปะ ส่วนการใช้พู่ประดับสตรีเมี่ยนทุกกลุ่มจะติดพู่ก้อนกลม สีแดงเป็นแถวยาวและสร้อยลูกปัดติดพู่ห้อย อาจจะใช้ไหมพรมสีแดงจำนวนเส้นคู่ตั้งแต่ 2-8 เส้นติดที่ชายเสื้อสตรีตรงข้างเอว

ชาวเมี่ยนให้ความสำคัญกับการแต่งกายให้เหมาะสมก่อนการทำพิธีกรรม การเย็บปักชุดจึงเป็นเรื่องของหญิงเมี่ยน ซึ่งชุดการเข้าพิธีจะคล้ายกับชุดเทวภาพเต๋า (เมี้ยน) ที่เมี่ยนนำถือ ซึ่งก่อนการเข้าพิธีบวช (ก๋วาตัง) หญิงเมี่ยนจะต้องเตรียมชุดไว้ให้พร้อมก่อนการเข้าพิธีกรรม การปักผ้าชุดของผู้เข้าพิธกรรมีที่มีลวดลายปัก มีผ้าจุ้นและเส้นต้อตาย สีที่ใช้มีสีขาวและสีแดง เป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้อาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมและผู้เข้าพิธีกรรมต้องใช้คือผ้าชนิดต่างๆมาประกอบด้วย


ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย

ประกอบไปด้วยเสื้อตัวสั้นหลวม คอกลมชิ้นหน้าห่ออกอ้อมไปติดกระดุมลูกตุ้มเงินถึงสิบเม็ด เป็นแถวทางด้านขวาของร่างในบางที่อาจนิยม ปักลายดอกที่ผืนผ้าด้วย แล้วสวมกับกางเกงขาก๊วยทั้งเสื้อ และกางเกงตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายทอมือย้อมครามสีน้ำเงิน หรือย้อมดำคนรุ่นเก่ายังสวมเสื้อกำมะหยี่ในงานพิธี แต่ยิ่งอายุมากขึ้นเสื้อของชายเมี่ยนก็จะลดสีสันลงทุกทีจนเรียบสนิท ในวัยชราบุรุษเมี่ยนจะใช้ผ้าโพก
ศีรษะในงานพิธีเท่านั้น เครื่องแต่งกายเด็ก ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะมีการแต่งกายที่คล้ายกับแบบฉบับของการแต่งกายผู้ใหญ่ทั้งหญิง และชาย เพียงแต่เครื่องแต่งกาย ของเด็กจะมีสีสันน้อยกว่าบ้าง เช่น เด็กหญิงอาจจะยังไม่ปักกางเกงให้ เพราะยังไม่สามารถรักษาหรือดูแลให้สะอาดได้ จึงเป็นการสวมกางเกง เด็กธรรมดาทั่วไป ส่วนเด็กชายก็เหมือนผู้ใหญ่ คือ มีเสื้อกับกางเกงและที่ไม่เหมือนคือเด็กชายจะมีหมวกเด็ก ซึ่งทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะมีการปักก็มีลักษณะคล้ายกัน แต่หมวกเด็กผู้ชายจะเย็บด้วยผ้าดำสลับผ้าแดง เป็นเฉกประดับด้วยผ้าตัดเป็นลวดลายขลิบริมด้วยแถบไหมขาวติดปุยไหม
พรมแดงบนกลางศีรษะ หรือมีลายเส้นหนึ่งแถวและลายปักหนึ่งแถวสลับกันอย่างละสองแถว สำหรับหมวกเด็กหญิงมีลายปักเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแถว หรือสองแถวและจะมีผ้าดำปักลวดลายประดับไหมพรมสีแดงสดบนกลางศีรษะและข้างหู

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง

ประกอบไปด้วยกางเกงขาก๊วย ซึ่งเต็มไปด้วยลายปักเสื้อคลุมตัวยาวถึงข้อเท้า มีไหมพรมอยู่รอบคอ ผ้าคาดเอวและผ้าโพกศีรษะ การพันศีรษะต้องพันศีรษะ ด้วยผ้าพื้นเป็นชั้นแรก จากนั้นก็มาพันชั้นนอกทับอีกที การพันชั้นนอกจะใช้ผ้าพันลายปัก ซึ่งมีลักษณะการพันสองแบบคือแบบหัวโต (ก่องจุ้น) และแบบหัวแหลม (ก่องเปลวผาน) และผ้านี้จะพันไว้ตลอดแม้ในเวลานอน หญิงเมี่ยนนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำด้านหน้ากางเกง เป็นลายปักที่ละเอียด และงดงามมาก ลวดลายนี้ใช้เวลา
ปัก 1 - 5 ปีขึ้นอยู่กับความละเอียดของลวดลาย และเวลาว่างของผู้ปักเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้หญิงเมี่ยนจึงอวดลายปักของตน ด้วยการรวบปลายเสื้อที่ผ่าด้านข้างทั้งสองมามัดด้านหลัง และใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งทำหน้าเป็นเข็มขัดทับเสื้อ และกางเกงอีกรอบหนึ่ง โดยทิ้งชายเสื้อซึ่งปักลวดลายไว้ข้างหลัง การตัดเย็บจะตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายพื้นสีดำ ยกเว้นเสื้อคลุมซึ่งอาจใช้ผ้าทอเครื่องในบางกรณี การปักลายของเมี่ยนตามบางท้องถิ่นอาจเหมือนหรือแตกต่างกันบ้างตามความนิยม


เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีของเมี่ยนมีลักษณะเป็นการเล่นดนตรีแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โอกาสในการเล่นดนตรีของเมี่ยนค่อนข้างจำกัด คือ ดนตรีของเมี่ยนจะมีโอกาสนำออกมาเล่นได้ก็เฉพาะ เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการดำเนินพิธีกรรมใหญ่ๆ หรือสำคัญๆ ตามตำราพิธีกรรมระบุไว้ว่า ต้องใช้เครื่องดนตรีประกอบเท่านั้น เช่น การแต่งงาน พิธีบวช พิธีงานศพ พิธีกรรมดึงวิญญาณคนตายจากนรก (เชวตะหยั่ว) เป็นต้น และในบางพิธีกรรมเหล่านี้ การใช้เครื่องดนตรีร่วมประกอบพิธีกรรมยังไม่อาจ
ใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภทอีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพิธีกรรม และคุณสมบัติของบุคคลที่เป็นเจ้าของพิธีกรรม เช่น ดนตรีประกอบพิธีกรรมแก่ผู้ตายที่ไม่เคยผ่านการบวชใหญ่ จะใช้ปี่ไม่ได้ หรือพีธีดึงวิญญาณคนตายขึ้นจากนรก จะใช้เครื่องดนตรีเพียงแค่ฉาบและกลองเท่านั้น นอกจากกรณีเพื่อเป็นส่วนประกอบทางพิธีกรรมดังกล่าวแล้ว ดนตรีของเมี่ยนไม่มีโอกาสส่งเสียงสำเนียงให้ผู้อื่นได้ยินอีกแม้แต่การฝึกซ้อม

การเล่นดนตรีประกอบพิธีกรรม จังหวะและทำนองของดนตรีจะเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนของพีธีกรรม หรือเหตุการณ์ในพิธีกรรม เช่น การแต่งงาน ขั้นตอนพิธีกรรมที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวทำพิธีไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ ไหว้ฟ้าดิน ดนตรีจะทำจังหวะและทำนองอย่างหนึ่ง การเชิญแขกเข้าโต๊ะรับประทานอาหาร หรือกำลังรับประทานอาหาร ดนตรีก็จะทำจังหวะที่แตกต่างกันไป ผู้เข้าใจจังหวะและทำนองดนตรีจะสามารถรู้เหตุการณ์ หรือขั้นตอนที่กำลังดำเนินอยู่ในพิธีกรรมนั้นได้ แม้มิได้เห็นด้วยตาก็ตาม เครื่องดนตรีของเมี่ยนยังไม่สามารถที่จะเอาออกมาเล่นเหมือนกับเผ่าอื่นได้ ต้องใช้สำหรับในพิธีกรรมเท่านั้น ดังนั้นเมี่ยนจึงไม่ค่อยจะมีการละเล่นที่โดดเด่นเหมือนกับเผ่าอื่น

ประเภทเป่า

ปี่ หรือภาษาเมี่ยนเรียกว่า (จยัด)
ปี่ หรือภาษาเมี่ยนเรียกว่า (จยัด)ปี่ หรือภาษาเมี่ยนเรียกว่า (จยัด): เมี่ยนมีปี่เพียง 1 ชนิด ทำด้วยทองแดง ทองเหลือง เจาะรูตามลักษณะของปี่โดยทั่วๆ ไป มีความยาวประมาณไม่น้อยกว่า 50 ซม.
ประเภทเครื่องตี
กลอง: ภาษาเมี่ยนเรียกว่า "โฌย๋,ล่อโฌย๋" เป็นกลองสองหน้าหุ้มด้วยหนังโค มีขนาดเส้นผ่าศูยน์กลางตั้งแต่ 30-60 ซม. ไม้ที่ใช้ทำกลองต้องเป็นไม้ (ตะจูงกง) และจะมีไม้ที่มีขนาดเล็กเสียบอยู่รอบๆกลองทั้งหมด 300 อัน
ฆ้อง: ภาษาเมี่ยนเรียกว่า "มัง" ทำด้วยโลหะผสมทองแดง มีรูปร่างเหมือนฆ้องไทยโดยทั่วๆ ไป มีเส้นผ่านศูยน์กลางตั้งแต่ 15-25 ซม.

ฉาบ: ภาษาเมี่ยนเรียกว่า "เฉาเจ้ย, ฉาว" ทำจากทองเหลือง (ต่งแปะ) มีลักษณะกลมเช่นเดียวกับฉาบของชาวไทย และมีสองอันใช้ตีประกบเข้าด้วยกัน