หนังสือโบราณเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของมรดกวัฒนธรรมเมี่ยน

หนังสือโบราณเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของมรดกวัฒนธรรมพื้นเมืองที่มีความหลากหลายของชนเผ่าเย้าเคิวอำเภอสิ่นโห่จังหวัดไลโจว์ซึ่งเป็นเอกสารข้อมูลเพื่อการศึกษาตัวหนังสือและความเลื่อมใสศรัทธาของพวกเขาแต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงในปัจจุบันคือมรดกนี้กำลังค่อยถูกหลงลืมตามกาลเวลาคุณลุงเติ๋นเหม่งเสียว(TanMenhXieu)อายุ๗๖ปีอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านต๋าฝิ่น(TaPhin)ตำบลต๋าฝิ่น(TaPhin)อำเภอสิ่นโห่(SinHo)จังหวัดลายโจว์(LaiChau)ได้รับการยกย่องจากชาวบ้านให้เป็นปรมาจารย์ท่านเป็นลูกศิษย์ที่ยอดเยี่ยมของตระกูลเติ๋นมีความรู้
แตกฉานและกำลังเก็บรักษาหนังสือเกี่ยวกับตัวหนังสือของตระกูลหลายเล่มท่านได้เก็บหนังสือที่เขียนด้วยภาษาโนมเย้าบนกระดาษสาประมาณ๑๐๐เล่มอายุ๑๕๐ปีโดยเฉพาะสมุดจด
การสอนภาษาเย้าให้แก่ชนรุ่นใหม่
บันทึกปรากฏการณ์ของธรรมชาติพิธีกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีรวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันแต่สิ่งที่ทำให้คุณลุงเติ๋นเหม่งเสียวต้องครุ่นคิดคือปัจจุบันยังเหลือคนที่หลงไหลการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมของชนเผ่าเย้าเพียงไม่กี่คนเท่านั้น“จากสังคมที่พัฒนาทันสมัยทำให้คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะวัยรุ่นได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมสมัยใหม่มากกว่าวัฒนธรรมอันดีงามของชนเผ่าตนจนทำให้วัฒนธรรมของชนเผ่าตนค่อยๆเสื่อมหายไปผมหวังว่าหน่วยงานทุกภาคส่วนมีนโยบายให้ความสนใจและเปิดการสอนภาษาโนมเย้าให้แก่เด็กๆ ”


ปัจจุบัน ที่อำเภอสิ่นโห่ยังเหลือผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนเผ่าเย้าระดับปรมาจารย์ดังเช่นคุณลุงเสียวไม่กี่คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและสังขารไม่อำนวย ส่วนคนรุ่นใหม่ก็เพียงแต่ฟังรู้เรื่องและสื่อสารได้ตามปกติแต่เขียนไม่เป็นอาทิเช่น หมู่บ้านโหล่โต่ฝิ่น ( Lo To Phin ) ตำบลฟังโซลิน( Phang So Lin ) มี ๔๘๕ ครัวเรือนเป็นชนเผ่าเย้าเคิว( Dao Khau ) แต่ไม่รู้ตัวหนังสือโนมเย้า( Nom Dao )และไม่มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนเผ่าตน นายเหงวียนดึ๊กเจื่อง(Nguyen Duc Truong ) หัวหน้าฝ่ายดูแลด้านวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวของอำเภอสิ่นโห่เผยว่าคลังหนังสือโบราณของชนเผ่าเย้าเคิวเหลือประมาณ   
๕๐๐ เล่มและกระจัดกระจายตามหมู่บ้านต่างๆ  บางครอบครัวยังเก็บรักษาหนังสือเกี่ยวกับประวัติของตระกูลไว้แต่อ่านไม่ออก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่รู้เรื่องวัฒนธรรมโบราณของเผ่าตนส่วนหนึ่งมาจากที่ผู้ใหญ่ไม่สนใจ เด็กชายฟานแทงเซิน( Phan Thanh Son ) เล่าว่า ปู่ย่าตายายและคุณพ่อคุณแม่ต้องทำมาหากินไม่มีเวลาเล่าเรื่องของบรรพบุรุษและรากเง่าของตนให้ฟัง “ คุณพ่อและคุณแม่ยังไม่เคยเล่าเรื่องรากเง่าของชนเผ่าเย้า  ที่โรงเรียนหนูได้เรียนหนังสือด้วยภาษากลางเหมือนเพื่อนคนอื่นๆทั่วไปโดยไม่ได้เรียนตัวหนังสือเย้า ”


จากสภาพปัจจุบันทำให้เราทุกคนต้องครุ่นคิดมาตรการอนุรักษ์มรดกหนังสือโบราณของชนเผ่าเย้าที่ล้ำค่าดังกล่าว ซึ่งมาตรการที่มีประสิทธิภาพคือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นทางการท้องถิ่น ชุมชน ชนเผ่าเย้าแต่ละคนตลอดจนต้องระบุการศึกษาตัวหนังสือโนมเย้าเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนหรือในโครงการภาคปฏิบัติเพื่อฟื้นฟูและสนองความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นเมืองให้แก่ชนใหม่เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนตลอดไป






ขอบคุณข้อมูล : (VOV5)