หนังสือประวัติศาสตร์โบราณของชนเผ่าเย้าถือเป็นมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญและเป็นแหล่งข้อมูลที่จะนำไปสู่การค้นคว้าวัฒนธรรมที่ลึกลับของชาวเย้าโดยแต่ละชุมชนชาวเย้ายังคงเก็บรักษาหนังสือที่มีค่าเหล่านี้รวมหลายร้อยเล่ม
หมู่บ้านชนเผ่าเย้าแต่ละแห่งเปรียบเสมือนเป็นหอสมุดขนาดเล็กที่เก็บรักษาหนังสือประวัติศาสตร์โบราณต่างๆโดยทุกตระกูลหรือทุกครอบครัวต่างก็มีหนังสือบันทึกกระบวนการพัฒนาเฉพาะของตนแต่มีส่วนหนึ่งที่มีเนื้อหาเหมือนกันคือได้ระบุรกรากของชาวเย้าทุกสาขาว่าล้วนเป็นบุตรหลานของบ๋างเวืองและมีความเชื่อภาษาและประเพณีต่างๆเหมือนกันนอกจากนั้น
เนื้อหาต่างๆในหนังสือโบราณนี้ยังแนะนำการปฏิบัติด้านความเลื่อมใสและพิธีกรรมต่างๆอีกด้วยนาย
แจ่วต๋าฝุ่ง เลขาธิการหมู่บ้าน อู ซี สุ่ง ต.ต๋ายเฝ่ย เมืองลาวกาย จ.ลาวกายเผยว่า“หนังสือโบราณนั้นมีค่ามากซึ่งไม่เพียงเเต่แนะนำวิธีการดูวันเวลาที่มีฤกษ์งามยามดีเพื่อปลูกเรือนหรือแต่งงานเท่านั้นแต่ยังมีการแนะนำพิธีกรรมต่างๆตามประเพณีโบราณเช่นการปิดไฟและการจัดงานศพ”
หนังสือโบราณต่างๆถือเป็นแหล่งรวมประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติต่อกันในสังคม
ความรู้ด้านดินฟ้าอากาศ สมุนไพรและการรักษาโรคแผนโบราณของชาวเย้าตามความเชื่อของชาวเย้า
ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีวิญญาณและจะมีเทพเจ้าที่คอยดูแลดังนั้นจะต้องมีพิธีกรรมเซ่นไหว้เทพต่างๆ
เช่นพิธีเซ่นไหว้เทพแห่งฝนเทพแห่งข้าวหรือเทพแห่งสัตว์เลี้ยงต่างๆ นาย
เเจ๋วต๋าฝุ่ง เผยวว่า“พิธีต่างๆได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือโบราณและถ้ารู้ภาษาเย้าก็สามารถอ่านได้และปฏิบัติตามได้ซึ่งทุกอย่างต้องทำตามขั้นตอนที่เขียนในหนังสือไม่มีการปรับเปลี่ยน”
ชาวเย้าเป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยที่มีทั้งภาษาเขียนและภาษาพูดเฉพาะของชนเผ่าตน ในด้านภาษานั้นชาวเย้าเป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยที่มีทั้งภาษาเขียนและภาษาพูดเฉพาะของชนเผ่าตนเพื่อช่วยรักษาคุณค่าแห่งวัฒนธรรมให้มีการพัฒนายั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งนับเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและใช่ว่าทุกชนเผ่าจะสามารถทำได้นายฟานเกิ๋มเถืองเผนว่า“หนังสือโบราณของชาวเย้าทำจากกระดาษชนิดพิเศษของชนเผ่าโดยใช้วัตถุดิบคือฟางและขั้นตอนการทำก็คล้ายกับการทำกระดาษสาหนังสือแต่ละเล่มจัดทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมและใช้พู่กันในการเขียนแต่ละเล่มมีตัวอักษรประมาณ3-4พันตัวรวมกันเป็นหลายสิบหน้า
กระดาษเช่นหนังสือทำนายหนังสือเรียนพิธีกรรมทางศาสนาหนังสือการแพทย์หนังสือแนะนำเอกลักษณ์พิเศษของชาวเย้าเพื่อใช้เป็นหลักระเบียบการเมื่อชาวเย้าอพยพไปยังท้องถิ่นอื่นๆ”
เป็นอันว่าชีวิตวัฒนธรรมและสังคมของชาวเย้าล้วนถูกระบุในหนังสือโบราณเหล่านี้ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยอนุรักษ์เกียรติประวัติของบรรพบุรุษเท่านั้นหากยังมีส่วนร่วมเพิ่มความหลากหลายให้แก่วัฒนธรรมของเวียดนามอีกด้วย./.