พิธีเรียกขวัอิ้วเมี่ยน


พิธีเรียกขวัญ

การเรียกขวัญก็เป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมที่เมี่ยนให้ความเคารพนับถือมาโดยตลอด ในระยะ 1 ปีของเมี่ยนนั้นแต่ละคนต้องทำการเรียกขวัญอย่างน้อย 1ครั้ง บางคนนั้นอาจจะเรียกขวัญปีละ 2-3 ครั้งก็มี เนื่องจากคนคนนั้นเกิดอาการป่วยเกิดขึ้น หรือทำเมื่อตกใจเห็นอะไรที่ไม่ดี


การเรียกขวัญก็เป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมที่เมี่ยนให้ความเคารพนับถือมาโดยตลอด ในระยะ 1 ปีของเมี่ยนนั้นแต่ละคนต้องทำการเรียกขวัญอย่างน้อย 1ครั้ง บางคนนั้นอาจจะเรียกขวัญปีละ 2-3 ครั้งก็มี เนื่องจากคนคนนั้นเกิดอาการป่วยเกิดขึ้น หรือทำเมื่อตกใจเห็นอะไรที่ไม่ดี จะต้องเดินทางไกล จากบ้านไปนาน ชนเผ่าเมี่ยนจึงทำการเรียกขวัญ เพื่อที่ให้ขวัญกับมาอยู่กับตัว เมี่ยนเชื่อว่าการเรียกขวัญนั้นจะช่วยขจัดความทุกข์ทรมานได้ และเมื่อทำแล้ว วิญญาณบรรพบุรุษก็จะมาคุ้มครอง และดูแลผู้เรียกขวัญ เมื่อเรียกขวัญเสร็จก็จะทำให้คนที่สู่ขวัญนั้นสบายใจขึ้น


การเรียกขวัญของเมี่ยนนั้นจะอยู่ช่วงระหว่างเทศกาลปีใหม่ของเมี่ยน เพราะช่วงนั้นพี่น้องในทุกๆ บ้านก็จะกลับบ้านมาพร้อมหน้าพร้อมตากัน พี่น้องที่อยู่ไกลเมื่อกลับมาถึงบ้าน พ่อแม่ก็จะห่าหมอผีมาช่วยเรียกขวัญ เนื่องจากว่าคนที่อยู่ห่างไกลจากบ้านนั้นจะไม่ค่อยกลับบ้าน จึงไม่ค่อยได้เรียกขวัญเท่าไหร่นัก กว่าจะได้เรียกขวัญทีหนึ่งก็ต้องนานเป็นปี ช่วงเทศกาลปีใหม่นี้จึงเป็นช่วงที่เหมาะกับการเรียกขวัญให้กับคนในครอบครัวมากที่สุด การเรียกขวัญนี้จะใช้เวลาไม่มากนัก และไม่ต้องใช้เครื่องเซ่นไหว้มากมาย ถ้าเรียกขวัญเด็กอายุ 1 - 12 ขวบ จะใช้ไก่ตัวและไข่ไก่ฟอง กระดาษเงินและเหล้า เป็นเครื่องเซ่นไหว้ โดยจัดไว้บนโต๊ะหน้าหิ้งบูชา (ซิบเมี้ยนเมี่ยน) จะทำพิธีท่องคาถา และเผากระดาษเงินให้วิญญาณบรรพบุรุษ เพื่อขอให้ช่วยดูแลรักษา เมื่อยามที่ไม่สบายเกิดขึ้น หรือเวลาที่ออกไกลบ้านไป และคุ้มครองขวัญให้อยู่กับตัวตลอด

การเรียกขวัญของผู้ใหญ่นั้นก็จะทำคล้ายกันกับของเด็ก เพียงแต่แค่เปลี่ยนเครื่องเซ่นไหว้ใช้หมูแทนไก่กับไข่ นอกนั้นก็จะเหมือนกับเด็กทุกขั้นตอน การเรียกขวัญจะใช้เวลาไม่มากนักประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้นเอง เมื่อทำพิธีเสร็จก็จะทำอาหารร่วมรับประทานกับอาจารย์ผู้ประกอบพิธี อาจารย์ผู้ประกอบพิธีก็จะบอกว่าขวัญเรากลับมาหรือยัง เพื่อที่จะได้รู้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ดีหรือว่าไม่ดีตามประเพณีอาจารย์ผู้ประกอบพิธีก็จะบอกเรา ถ้าหากว่าไม่ดีเราก็ต้องทำพิธีตามขั้นต่อไปที่อาจารย์ผู้ประกอบพิธีบอกคนในครอบครัวก็จะหาหมอผีมาช่วยเรียกขวัญให้กับคนคนนั้น

พิธีสะพานเรียกขวัญหรือพิธีต่ออายุ

โดยการสร้างสะพานให้วิญญาณข้ามกลับมาหาร่าง เป็นพิธีที่ใช้ระยะเวลาหนึ่งวันจะทำพิธีกันที่ชายหมู่บ้าน การจัดพิธีโดยเริ่มจาก เตรียมไม้กระดาน ซึ่งพึ่งเลื่อยจากต้นไม้สดๆให้มีปุ่มไม้ยื่นจากกระดานจำนวนเท่าครั้งของพิธีที่ทำมาแล้ว สำหรับคนๆนั้น เขาจะทอดกระดานแผ่นนี้ ข้ามลำธารหรือทอดบนพื้นดินให้ขนานกับทางเข้าหมู่บ้าน ก่อนทำพิธี ผู้ประกอบพิธีจะเตรียมเขียนสารขึ้นมาหลายฉบับ โดยฉบับหนึ่งถึงบรรพชน ฉบับหนึ่งถึงเทพเจ้าญุตไต๋ (คือ) และอีกฉบับถึงขวัญที่
หลงทางหายไป แล้วประทับตราม้าเร็ว (ม้าเร็วคือ) เพื่อให้สารนั้นไปถึงมือผู้รับโดยด่วน แล้วจึงล้มลูกแบ่งหมูตัวนั้นเป็นห้าชิ้นแล้วประกอบเข้ากันเป็นหมูอย่างเดิม ตั้งไว้ที่ปลายสะพานด้านหมู้บ้าน ตั้งเครื่องเซ่นพระเจ้าญุตไต๋ไว้ใกล้ๆตัวหมู ส่วนเครื่องเซ่นอีกชุดหนึ่งตั้งไว้บนโต๊ะเล็กที่ปลายสะพานอีกด้าน ผู้ประกอบพิธีจะทำการไหว้วิญญาณอุปัชฌาจารย์ (คือ) และเผาสารเป็นการส่งข้อความไปสู่ภูตภูมิ เมื่อเริ่มพิธีคนป่วยจะต้องนั่งขัดสมาธิอยู่ที่เชิงสะพานด้านหมู่บ้าน มีผ้าขาวคลี่วางพาดตัก ผู้ประกอบพิธีจะสวดมนต์หลายจบแล้วซัดข้าวสารมาจาก
ปลายสะพานอีกด้านหนึ่ง มายังคนป่วย ซึ่งคนป่วยจะต้องพยายามรับให้ได้บ้างด้วยผ้าขาวเพื่อ จะนำข้าวสารที่ได้ไปถวายผู้ประกอบพิธี ผู้ประกอบพิธีจะมอบไก่เป็นๆ หนึ่งตัวให้คนป่วยพร้อมกับท่อนไม้ ซึ่งเมื่อคนป่วยรับมาแล้วก็จะต้องเดินข้ามสะพานแล้วกลับไปบ้านทันทีโดยไม่เหลียวหลัง แล้วผู้ประกอบพิธีขะเผาเงินกระดาษท้ายพิธี หากทำทุกอย่างถูกต้องแล้ว เชื่อกันว่า ไม่ช้าไม่นาน ขวัญก็จะกลับเข้าร่างเป็นอันฟื้นคือสุขภาพ ในปัจจุบัน การทำพิธีนี้ถือได้ว่าเป็นพิธีที่นิยมทำพิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนถึงปัจจุบัน ซึ่งคนส่วนใหญ่
แล้วจะเชื่อคล้ายๆกัน คือ ถ้าทำพิธีแล้วจะสบายใจ เพราะเชื่อว่า การทำพิธีนี้แล้ว จะเรียกขวัญคืนมา ต่ออายุแล้วยังลบล้างสิ่งที่ไม่ดีที่เข้ามาทำให้ไม่สบาย จึงมีพิธีนี้เกิดขึ้นตามความเชื่อ